การจัดสรรการขนส่งน้ำมันดีเซลไปเขตภาคเหนือของประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัทผู้ค้าน้ำมันแห่งหนึ่ง

บทความนี้กล่าวถึงการเสนอนโยบายการจัดสรรการขนส่งน้ำมันไปคลังน้ำมันในเขตภาคเหนือทั้งหมด 5 คลัง เพื่อให้มีต้นทุนการขนสงรวมต่ำที่สุด การขนส่งสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือทางรถไฟ และทางรถบรรทุก ต้นทุนต่อหน่วยของการขนส่งทางรถไฟนั้นต่ำกว่าการขนส่งทางรถบรรทุก แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการขนส่งซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณน้ำมันที่ต้องการขน และการเช่าแม่แคร่ (ที่วางตู้บรรทุกน้ำมันสำหรับขนส่งทางรถไฟ) ที่คิดค่าเช่าเป็นรายปี จึงต้องตัดสินใจเช่าแม่แคร่ก่อนที่จะทราบปริมาณความต้องการน้ำมัน   ผู้วิจัยได้นำข้อมูลปริมาณความต้องการน้ำมันในอดีตมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำไปจำลองสถานการณ์ (Simulation) ปริมาณความต้องการน้ำมันแล้ววิเคราะห์หาปริมาณการเช่าแม่แคร่ที่เหมาะสม จากนั้นนำข้อมูลส่วนที่ 2 มาจัดสรรการขนส่ง โดยประยุกต์การใช้ตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) มาใช้แก้ปัญหาการตัดสินใจจำนวนรถบรรทุกที่ต้องใช้ต่อวัน ผลที่ได้จากนโยบายการขนส่งแบบใหม่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 4% จุฑาภัทร ศุภผล กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 Slide: ORNET2016-diesel-present Full paper: ORNET2016-diesel

กรณีศึกษานโยบายสินค้าคงคลังสำรองอะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักที่มี ช่วงเวลานำไม่แน่นอน ของบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายหนึ่ง

บริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของประเทศ มีเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่สายการผลิต ในปัจจุบันบริษัทไม่มีการเก็บอะไหล่ไว้สำรองสำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักซึ่งใช้งานมานานแล้วจึงเกิดความเสียหายจากการใช้งาน   ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังและกำหนดนโยบายสำหรับการสั่งซื้ออะไหล่ของบริษัท เมื่อวิเคราะห์ความสำคัญของอะไหล่จากผลกระทบจากความเสียหาย จะได้ว่าอะไหล่ที่มีความจำเป็นที่จะต้องสำรองสูงคือ สายน้ำมันไฮโดรลิค  จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2556 พบว่าระยะเวลานำในการสั่งซื้อไม่แน่นอน ค่าต่ำสุดและสูงสุดอยู่ที่ 1 และ 104 วันตามลำดับ  ปริมาณความต้องการอะไหล่ก็ไม่แน่นอนเช่นกันและกำหนดให้แจกแจงแบบปัวซง     ผู้วิจัยสร้างตัวแบบจำลองบนโปรแกรมตาราง spreadsheet เพื่อใช้ในการกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ โดยกำหนดระดับการให้บริการอยู่ที่ 95%  กำหนดระดับสินค้าคงคลังสูงสุด MAX เท่ากับจุดสั่งซื้อใหม่บวกกับปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม EOQ   ผลจากการทดสอบกับข้อมูลความต้องการจริงในปี 2557 สรุปได้ว่านโยบายที่สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยสินค้าได้ 47-119 วัน และสามารถลดต้นทุนรวมจากการรอคอยสินค้าได้ 645,935 บาท   นำโชค ย้อยดี และ กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการการวิจัยดำเนินงาน ORNET2016 Slide: ORNET2016-randomLT-present Full paper: ORNET2016-randomLT

ตัวแบบ Newsvendor ที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ: กรณีศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าแฟชัน

ตัวแบบ Newsvendor ที่มีข้อจากัดเรื่องงบประมาณ: กรณีศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าแฟชัน อวยพร พู่วณิชย์ ศิวิกา ดุษฎีโหนด และ กาญจ์นภา อมรัชกุล คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 118 ถนนเสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2558 Full paper ORNET2015-อวยพร บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาการวางแผนการสั่งผลิตเสื้อผ้าแฟชันของแบรนด์หนึ่งซึ่งมีสินค้าหลักห้าประเภท บริษัทมีสองฤดูการขายต่อปี ต้องสั่งผลิตล่วงหน้า 6 เดือนโดยมีงบประมาณรวมแต่ละฤดูกาลเท่ากับ 35 ล้านบาท หรือ 70 ล้านบาทต่อปี นโยบายในปี 2554-2555 พบว่ามีสินค้าคงเหลือมาก งานวิจัยนี้จึงนาตัวแบบ newsvendor มาประยุกต์ใช้เพื่อหาปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมที่ทาให้ได้ค่าคาดหมายกาไรรวมสูงสุดภายใต้งบประมาณของแต่ละฤดูกาล นโยบายจากตัวแบบข้างต้นหากนาไปใช้กับข้อมูลใน 2556 พบว่ากาไรที่ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7,273,369 บาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทควรใช้งบประมาณรวมอยู่ที่ 50 ล้านบาทต่อปี โดยงบประมาณส่วนที่เหลืออาจนาไปใช้ทากิจกรรมส่งเสริมการตลาดหรือพัฒนารูปแบบการออกแบบสินค้า เพื่อดึงดูดความสนใจและอาจส่งเสริมยอดขายสินค้าในอนาคต คำสำคัญ: การจัดการสินค้าคงคลัง, ตัวแบบ […]

ตัวแบบเชิงปริมาณในการจัดการโลจิสติกส์: การปรับปรุงนโยบายการจองพื้นที่ระวางสินค้าทางอากาศของ Integrator แห่งหนึ่ง

ตัวแบบเชิงปริมาณสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านการจัดการโลจิสติกส์ ทำให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรมากขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้ขอนำเสนอตัวอย่างในการใช้ตัวแบบเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงนโยบายการจองพื้นที่ระวางสินค้าทางอากาศของ Integrator แห่งหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่จะช่วยให้โลจิสติกส์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นและสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับประเทศไทยในอนาคตต่อไปได้

การคัดเลือกตัวแทนออกของด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล

การคัดเลือกตัวแทนออกของด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล พรรณวิภา แช่มเล็ก และ พัชราภรณ์ เนียมมณี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2556 บทคัดย่อ การคัดเลือกตัวแทนทำหน้าที่ดำเนินพิธีการศุลกากร เพื่อนำสินค้าเข้าประเทศไทยหรือที่เรียกว่า ตัวแทนออกของ นั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อสายงานโลจิสติกส์ เนื่องจากการดำเนินพิธีการศุลกากรเป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งสินค้า หากองค์กรใดสามารถจัดหาสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำ มีคุณภาพและตรงตามเวลาที่ต้องการจะทำให้องค์กรนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าทั้งในด้านราคา และความรวดเร็วในการส่งมอบ ดังนั้น การประเมินประสิทธิภาพของตัวแทนออกของเพื่อใช้ในการคัดเลือกตัวแทนออกของที่เหมาะสมที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง กรณีศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการเสนอแนวทางการประเมินความสามารถของตัวแทนออกของ โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล (Data Envelopment Analysis, DEA) โดยเทคนิค DEA อาศัยการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์เชิงเส้น ซึ่งไม่ซับซ้อน ใช้แก้ปัญหาการประเมินความสามารถของตัวแทนออกของได้ง่าย โดยใช้ข้อมูลของบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอิเล็คทรอนิคส์แห่งหนึ่ง ซึ่งได้ติดต่อกับตัวแทนออกของไว้ 4 บริษัท ให้เป็นตัวแทนในการดำเนินพิธีการศุลกากร ในการประเมินประสิทธิภาพของตัวแทนออกของทั้ง 4 บริษัทนี้ ฝ่ายนำเข้าส่งออกได้นำปัจจัยนำเข้า คือ อัตราค่าบริการ อัตราสินค้าเสียหายหรือสูญหาย อัตราการส่งมอบผิดเวลา และอัตราความผิดพลาดของใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเกณฑ์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินบ่งชี้ว่า มีตัวแทนอกของเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่จัดว่ามีประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบ ส่วนตัวแทนออกของอีก […]

การกำหนดปริมาณเงินสดสำรองที่เหมาะสมให้เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ

การกำหนดปริมาณเงินสดสำรองที่เหมาะสมให้เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ: กรณีศึกษา ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย อัครณี ภักดีวงษ์ และ กาญจ์นภา อมรัชกุล คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 118 ถนนเสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน ปี 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2556) Link to full-paper http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJOR/article/view/21428/18565   บทคัดย่อ กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณเงินสดสารองที่เหมาะสมให้กับเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย การวิเคราะห์ใช้ตัวแบบ Newsvendor โดยกาหนดระดับการให้บริการที่ 98% ตัวแปรสุ่มซึ่งแทนปริมาณเงินเบิกถอนในแต่ละรอบเติมเงิน (3.5 วัน) สร้างมาจาก 2 วิธีดังนี้ 1) พิจารณาปริมาณเบิกถอนรวมต่อรอบเติม 2) พิจารณาปริมาณเบิกถอนต่อหนึ่งรายการถอนร่วมกันกับจานวนรายการถอนต่อรอบเติม จากการวิเคราะห์ข้อมูลรายการกดเงินสดย้อนหลัง 24 เดือน ของเครื่องเบิกถอนเงินสดจานวน 11 เครื่องซึ่งถูกคัดเลือกจากบริเวณที่ต่างกัน และมีรายการเบิกถอนเงินสดอย่างต่อเนื่อง พบว่า นโยบายจากวิธีที่ 2 ทาให้ปริมาณเงินสดสารองต่อรอบการเติมและปริมาณเงินสดคงเหลือเมื่อสิ้นรอบการเติมน้อยกว่านโยบายปัจจุบันและนโยบายจากวิธีที่ 1 […]

1 6 7 8