แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาการประยุกต์ Vehicle Routing Problem (VRP) เพื่อปรับปรุง การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง

แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ตัวแบบ Vehicle Routing Problem (VRP) เพื่อปรับปรุง การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง นายลักษณ์พิเชษฐ คชวัตร  LM7 จุดประสงค์ของการศึกษา ศึกษาระบบการสั่งซื้อ ความเหมาะสมของวิธีการขนส่งในปัจจุบัน เส้นทางการเดินรถปัจจุบัน และตำแหน่งที่ตั้งโรงงานของซัพพลายเออร์ พัฒนาตัวแบบการเดินรถด้วย VRP Model ที่มีความเหมาะสมและ นำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษานี้ ทำการคำนวณค่าใช้จ่าย ระยะทางเพื่อ หาจัดเส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าเพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าและหาจำนวนรถที่ต้องใช้ เพื่อจัดเตรียมว่าจ้างในแต่ละวัน และเวลารับส่งที่เหมาะสม นำผลการศึกษามาใช้กับข้อมูลกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งและเป็นทางเลือกให้กับบริษัท Slide VRP-Public Version

Dynamic Lot Sizing Model: Case Study of Inventory for Coal in Cement Industry

การกำหนดจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมด้วยวิธีแบบพลวัต กรณีศึกษาการสั่งซื้อถ่านหินสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ นางสาวนิรชร วะชุม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการ, ระบบและรายละเอียดของการสั่งซื้อถ่านหินในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เพื่อศึกษาค้นคว้าหาตัวแบบที่เหมาะสมกับลักษณะของการสั่งซื้อถ่านหิน และทำการวิเคราะห์หาระบบการสั่งซื้อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อนำแนวทางที่ค้นคว้ามาได้ ประยุกต์ใช้จริงกับบริษัทกรณีศึกษาในระบบการสั่งซื้อถ่านหิน ให้นำมาซึ่งต้นทุนรวมที่ลดลง สรุปผลการศึกษา ใช้ Holt’s method มาพยากรณ์ราคาถ่านหิน คำนวณ safety stock ซึ่งมาจากความไม่แน่นอนของ lead time สร้าง dynamic lot sizing model และหาผลลัพธ์โดยใช้ Microsoft Excel Premium Solver Pro หากได้นำผลลัพธ์นี้ไปใช้ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 372.85 ล้านบาทต่อปี (ประมาณ 22% ของ spending) Slide IS Presentation Nirachorn Wachum

การศึกษาหาปริมาณการสั่งผลิตและจุดสั่งผลิตที่เหมาะสม กรณีศึกษาบริษัทผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยว XYZ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม จุดสั่งซื้อที่เหมาะสมและจำนวนสินค้าคงคลังเพื่อความปลอดภัย เพื่อหาต้นทุนในการจัดการสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด ของบริษัทผลิตขนมขบเคี้ยว XYZ นายธวัชชัย แย้มวจี Slide การหาปริมาณการสั่งซื้อและจุดสั่งซื้อ-ธวัชชัย

การวางแผนจัดตู้คอนเทนเนอร์ลงเรือบรรทุกสินค้า กรณีศึกษา บริษัทให้บริการขนส่งทางเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทย

บทความนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาการวางแผนการจัดส่งสินค้าทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในแต่ละสัปดาห์ ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์เพื่อไปส่งท่าเรือในยุโรป 7 ท่าเรือ เส้นทางเดินเรือมีทั้งหมด 4 เส้นทางแบบเครือข่าย ปัญหาการจัดส่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่วนมากเกิดจากตู้คอนเทนเนอร์บางส่วนไม่สามารถส่งไปยังท่าเรือในยุโรปภายในระยะเวลาที่ลูกค้ากำหนด เนื่องจากเรือแม่ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์ไปยังท่าเรือที่ลูกค้าต้องการนั้นบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จนเต็มจำนวนที่บริษัทสามารถใช้ได้ ดังนั้นบริษัทจึงต้องจัดตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นไปยังเรือแม่ของเส้นทางอื่นที่ยังสามารถบรรทุกได้ และใช้วิธีการลงตู้คอนเทนเนอร์ไว้ที่ท่าเรือหนึ่งเพื่อรอให้เรือแม่ที่จะวิ่งไปยังท่าเรือที่ลูกค้าต้องการมาขึ้นตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นไปส่ง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น และก่อให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือต่อบริษัทเมื่อเกิดการจัดส่งที่ล่าช้า นอกจากนี้อาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกค้าหรืออาจให้ส่วนลดเมื่อลูกค้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่ในระยะยาวอาจส่งผลให้เสียลูกค้ารายนั้นไป ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้สร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่จะจัดสรรไปยังเรือแม่ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์ไปยังท่าเรือที่ยุโรปในทั้ง 4 เส้นทาง เพื่อให้ได้กำไรที่สูงสุดและส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดได้ตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ ในการเดินเรือนั้นสามารถเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ไปยังเรือแม่ลำอื่นที่ท่าเรือหนึ่งได้ โดยที่จำนวนตู้คอนเนอร์ที่บรรทุกไปในเรือทั้ง 4 ลำต้องไม่เกินข้อกำหนดที่บริษัทสามารถใช้ได้ และจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ของลูกค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ต้องถูกจัดส่งให้หมดภายในสัปดาห์นั้น ปนัดดา สาระพิทักษ์ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide: ORNET2016-container-present Full paper: ORNET2016-container

การประเมินความยืดหยุ่นด้านความจุของโครงข่ายการขนส่งสินค้า ระหว่างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง กับท่าเรือแหลมฉบัง

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือการพัฒนาตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อใช้ประเมินความยืดหยุ่นด้านความจุของโครงข่ายการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการประเมินหาขีดความจุสูงสุดที่ระบบโครงข่ายขนส่งสินค้าสามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงความจุคงเหลือ ของโครงข่าย การประเมินหาความจุของโครงข่ายใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์จากปัญหา 2 ระดับ (Bi-level Programming) ประกอบด้วย ปัญหาระดับบน (Upper Level) ซึ่งเป็นการคำนวณหาค่าที่มากที่สุดของตัวคูณความจุสำรองภายในโครงข่ายทางหลวง หรือ μ และปัญหาระดับล่าง (Lower Level) ซึ่งจะแสดงพฤติกรรมการเลือกเส้นทางสำหรับการขนส่งสินค้า โดยพิจารณาจากปัญหาการเลือกเส้นทางที่จุดสมดุลของผู้เดินทาง (User Equilibrium) โดยการศึกษานี้ได้เลือกศึกษาโครงข่ายการขนส่งสินค้าระหว่างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบังกับท่าเรือแหลมฉบัง ที่ประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายรถไฟเป็นกรณีศึกษา และทำการเปรียบเทียบสถานการณ์การขนส่งสินค้า 3 สถานการณ์ คือ 1) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเพียงรูปแบบเดียว 2) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าร่วมกันผ่านรถบรรทุกและรถไฟในช่วงเวลาปัจจุบัน และ 3) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าร่วมกันผ่านรถบรรทุกและรถไฟในอนาคต (หลังเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ) ซึ่งผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ที่ 1 และ 2 มีความจุของโครงข่ายทางหลวงหลักที่ใช้ขนส่งสินค้าไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการในปัจจุบัน โดยมีค่า μ เท่ากับ 0.39 และ 0.62 ตามลำดับ ในส่วนของสถานการณ์ที่ […]

การพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษามันสำปะหลังในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งของภาครัฐคือการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาพิจารณาเพียงเรื่องของต้นทุน ระยะเวลาที่ใช้ และความน่าเชื่อถือ แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือ ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน ซึ่งแสดงถึงความสามารถที่ระบบจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐยังไม่ได้กล่าวถึงมากนัก บทความนี้จึงได้พัฒนาตัวแบบกำหนดการเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม (Mixed Integer Linear Programming) เพื่อใช้วัดความยืดหยุ่น (Flexibility) โดยนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษามันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศแต่ปริมาณผลผลิตน้อยและไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งการพัฒนาตัวแบบพิจารณาตั้งแต่ส่วนการเพาะปลูก การแปรรูปและการขนส่ง โดยตัวแบบที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตัวแบบย่อยคือ ตัวแบบที่ 1 เป็นตัวแบบประเมินความสามารถพื้นฐานภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต การจัดเก็บ การขนส่งของเกษตรกรและโรงงานแปรรูปเพื่อให้เกิดต้นทุนที่ต่ำที่สุด  ส่วนตัวแบบที่ 2 เป็นตัวแบบประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานโดยอ้างอิงความสามารถพื้นฐานจากตัวแบบที่ 1 และผลจากตัวแบบนี้จะทำให้ทราบถึงความสามารถสูงสุดของเกษตรกร โรงงานแปรรูป และระบบการขนส่งที่สามารถรองรับได้ ซึ่งตัวแบบสามารถเป็นเครื่องมือช่วยกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพของโซ่อุปทานรวมถึงระบุจุดคอขวดของระบบเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ สราวุธ จันทร์สุวรรณ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide: ORNET2016-cassava-present Full paper:ORNET2016-cassava

ตัวแบบการจองปริมาณบรรทุกสินค้าจากสายการบิน

งานวิจัยนี้ศึกษาตัวแบบการจองปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าจากสายการบินของบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยสร้างตัวแบบให้สอดคล้องกับการทำงานจริงของบริษัทกรณีศึกษาและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล การจองปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าจากสายการบินต้องจองในปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่เหมาะสมที่จะจองปริมาณบรรทุกสินค้าเกินความต้องการส่งออกจริงไปได้มาก เนื่องจากรายได้ที่แท้จริงที่สายการบินจะได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่ส่งออกจริงในแต่ละเที่ยวบิน และในขณะเดียวกันหากทางบริษัทจองปริมาณบรรทุกสินค้าจากสายการบินน้อยเกินไปอาจจะทำให้ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างเพียงพอ ผู้วิจัยจึงศึกษาทั้งกำไรเฉลี่ยของการส่งออกสินค้าในแต่ละเที่ยวบิน และการใช้ประโยชน์ (Utilization) จากการจองปริมาณบรรทุกสินค้าที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าบริษัทกรณีศึกษาสามารถนำผลการดำเนินงานไปประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าที่ต้องจองกับสายการบินได้ อภิญญา เทพพนมรัตน์ กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide:ORNET2016-aircargo-present Full paper: ORNET2016-aircargo

การจัดสรรการขนส่งน้ำมันดีเซลไปเขตภาคเหนือของประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัทผู้ค้าน้ำมันแห่งหนึ่ง

บทความนี้กล่าวถึงการเสนอนโยบายการจัดสรรการขนส่งน้ำมันไปคลังน้ำมันในเขตภาคเหนือทั้งหมด 5 คลัง เพื่อให้มีต้นทุนการขนสงรวมต่ำที่สุด การขนส่งสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือทางรถไฟ และทางรถบรรทุก ต้นทุนต่อหน่วยของการขนส่งทางรถไฟนั้นต่ำกว่าการขนส่งทางรถบรรทุก แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการขนส่งซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณน้ำมันที่ต้องการขน และการเช่าแม่แคร่ (ที่วางตู้บรรทุกน้ำมันสำหรับขนส่งทางรถไฟ) ที่คิดค่าเช่าเป็นรายปี จึงต้องตัดสินใจเช่าแม่แคร่ก่อนที่จะทราบปริมาณความต้องการน้ำมัน   ผู้วิจัยได้นำข้อมูลปริมาณความต้องการน้ำมันในอดีตมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำไปจำลองสถานการณ์ (Simulation) ปริมาณความต้องการน้ำมันแล้ววิเคราะห์หาปริมาณการเช่าแม่แคร่ที่เหมาะสม จากนั้นนำข้อมูลส่วนที่ 2 มาจัดสรรการขนส่ง โดยประยุกต์การใช้ตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) มาใช้แก้ปัญหาการตัดสินใจจำนวนรถบรรทุกที่ต้องใช้ต่อวัน ผลที่ได้จากนโยบายการขนส่งแบบใหม่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 4% จุฑาภัทร ศุภผล กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 Slide: ORNET2016-diesel-present Full paper: ORNET2016-diesel

กรณีศึกษานโยบายสินค้าคงคลังสำรองอะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักที่มี ช่วงเวลานำไม่แน่นอน ของบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายหนึ่ง

บริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของประเทศ มีเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่สายการผลิต ในปัจจุบันบริษัทไม่มีการเก็บอะไหล่ไว้สำรองสำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักซึ่งใช้งานมานานแล้วจึงเกิดความเสียหายจากการใช้งาน   ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังและกำหนดนโยบายสำหรับการสั่งซื้ออะไหล่ของบริษัท เมื่อวิเคราะห์ความสำคัญของอะไหล่จากผลกระทบจากความเสียหาย จะได้ว่าอะไหล่ที่มีความจำเป็นที่จะต้องสำรองสูงคือ สายน้ำมันไฮโดรลิค  จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2556 พบว่าระยะเวลานำในการสั่งซื้อไม่แน่นอน ค่าต่ำสุดและสูงสุดอยู่ที่ 1 และ 104 วันตามลำดับ  ปริมาณความต้องการอะไหล่ก็ไม่แน่นอนเช่นกันและกำหนดให้แจกแจงแบบปัวซง     ผู้วิจัยสร้างตัวแบบจำลองบนโปรแกรมตาราง spreadsheet เพื่อใช้ในการกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ โดยกำหนดระดับการให้บริการอยู่ที่ 95%  กำหนดระดับสินค้าคงคลังสูงสุด MAX เท่ากับจุดสั่งซื้อใหม่บวกกับปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม EOQ   ผลจากการทดสอบกับข้อมูลความต้องการจริงในปี 2557 สรุปได้ว่านโยบายที่สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยสินค้าได้ 47-119 วัน และสามารถลดต้นทุนรวมจากการรอคอยสินค้าได้ 645,935 บาท   นำโชค ย้อยดี และ กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการการวิจัยดำเนินงาน ORNET2016 Slide: ORNET2016-randomLT-present Full paper: ORNET2016-randomLT

ตัวแบบ Newsvendor ที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ: กรณีศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าแฟชัน

ตัวแบบ Newsvendor ที่มีข้อจากัดเรื่องงบประมาณ: กรณีศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าแฟชัน อวยพร พู่วณิชย์ ศิวิกา ดุษฎีโหนด และ กาญจ์นภา อมรัชกุล คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 118 ถนนเสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2558 Full paper ORNET2015-อวยพร บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาการวางแผนการสั่งผลิตเสื้อผ้าแฟชันของแบรนด์หนึ่งซึ่งมีสินค้าหลักห้าประเภท บริษัทมีสองฤดูการขายต่อปี ต้องสั่งผลิตล่วงหน้า 6 เดือนโดยมีงบประมาณรวมแต่ละฤดูกาลเท่ากับ 35 ล้านบาท หรือ 70 ล้านบาทต่อปี นโยบายในปี 2554-2555 พบว่ามีสินค้าคงเหลือมาก งานวิจัยนี้จึงนาตัวแบบ newsvendor มาประยุกต์ใช้เพื่อหาปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมที่ทาให้ได้ค่าคาดหมายกาไรรวมสูงสุดภายใต้งบประมาณของแต่ละฤดูกาล นโยบายจากตัวแบบข้างต้นหากนาไปใช้กับข้อมูลใน 2556 พบว่ากาไรที่ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7,273,369 บาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทควรใช้งบประมาณรวมอยู่ที่ 50 ล้านบาทต่อปี โดยงบประมาณส่วนที่เหลืออาจนาไปใช้ทากิจกรรมส่งเสริมการตลาดหรือพัฒนารูปแบบการออกแบบสินค้า เพื่อดึงดูดความสนใจและอาจส่งเสริมยอดขายสินค้าในอนาคต คำสำคัญ: การจัดการสินค้าคงคลัง, ตัวแบบ […]

1 5 6 7 8