ตัวแบบการจองปริมาณบรรทุกสินค้าจากสายการบิน

งานวิจัยนี้ศึกษาตัวแบบการจองปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าจากสายการบินของบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยสร้างตัวแบบให้สอดคล้องกับการทำงานจริงของบริษัทกรณีศึกษาและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล การจองปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าจากสายการบินต้องจองในปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่เหมาะสมที่จะจองปริมาณบรรทุกสินค้าเกินความต้องการส่งออกจริงไปได้มาก เนื่องจากรายได้ที่แท้จริงที่สายการบินจะได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่ส่งออกจริงในแต่ละเที่ยวบิน และในขณะเดียวกันหากทางบริษัทจองปริมาณบรรทุกสินค้าจากสายการบินน้อยเกินไปอาจจะทำให้ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างเพียงพอ ผู้วิจัยจึงศึกษาทั้งกำไรเฉลี่ยของการส่งออกสินค้าในแต่ละเที่ยวบิน และการใช้ประโยชน์ (Utilization) จากการจองปริมาณบรรทุกสินค้าที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าบริษัทกรณีศึกษาสามารถนำผลการดำเนินงานไปประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าที่ต้องจองกับสายการบินได้ อภิญญา เทพพนมรัตน์ กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide:ORNET2016-aircargo-present Full paper: ORNET2016-aircargo

การจัดสรรการขนส่งน้ำมันดีเซลไปเขตภาคเหนือของประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัทผู้ค้าน้ำมันแห่งหนึ่ง

บทความนี้กล่าวถึงการเสนอนโยบายการจัดสรรการขนส่งน้ำมันไปคลังน้ำมันในเขตภาคเหนือทั้งหมด 5 คลัง เพื่อให้มีต้นทุนการขนสงรวมต่ำที่สุด การขนส่งสามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือทางรถไฟ และทางรถบรรทุก ต้นทุนต่อหน่วยของการขนส่งทางรถไฟนั้นต่ำกว่าการขนส่งทางรถบรรทุก แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการขนส่งซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณน้ำมันที่ต้องการขน และการเช่าแม่แคร่ (ที่วางตู้บรรทุกน้ำมันสำหรับขนส่งทางรถไฟ) ที่คิดค่าเช่าเป็นรายปี จึงต้องตัดสินใจเช่าแม่แคร่ก่อนที่จะทราบปริมาณความต้องการน้ำมัน   ผู้วิจัยได้นำข้อมูลปริมาณความต้องการน้ำมันในอดีตมาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำไปจำลองสถานการณ์ (Simulation) ปริมาณความต้องการน้ำมันแล้ววิเคราะห์หาปริมาณการเช่าแม่แคร่ที่เหมาะสม จากนั้นนำข้อมูลส่วนที่ 2 มาจัดสรรการขนส่ง โดยประยุกต์การใช้ตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) มาใช้แก้ปัญหาการตัดสินใจจำนวนรถบรรทุกที่ต้องใช้ต่อวัน ผลที่ได้จากนโยบายการขนส่งแบบใหม่สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ 4% จุฑาภัทร ศุภผล กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 Slide: ORNET2016-diesel-present Full paper: ORNET2016-diesel

กรณีศึกษานโยบายสินค้าคงคลังสำรองอะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักที่มี ช่วงเวลานำไม่แน่นอน ของบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายหนึ่ง

บริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของประเทศ มีเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่สายการผลิต ในปัจจุบันบริษัทไม่มีการเก็บอะไหล่ไว้สำรองสำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักซึ่งใช้งานมานานแล้วจึงเกิดความเสียหายจากการใช้งาน   ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังและกำหนดนโยบายสำหรับการสั่งซื้ออะไหล่ของบริษัท เมื่อวิเคราะห์ความสำคัญของอะไหล่จากผลกระทบจากความเสียหาย จะได้ว่าอะไหล่ที่มีความจำเป็นที่จะต้องสำรองสูงคือ สายน้ำมันไฮโดรลิค  จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2556 พบว่าระยะเวลานำในการสั่งซื้อไม่แน่นอน ค่าต่ำสุดและสูงสุดอยู่ที่ 1 และ 104 วันตามลำดับ  ปริมาณความต้องการอะไหล่ก็ไม่แน่นอนเช่นกันและกำหนดให้แจกแจงแบบปัวซง     ผู้วิจัยสร้างตัวแบบจำลองบนโปรแกรมตาราง spreadsheet เพื่อใช้ในการกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ โดยกำหนดระดับการให้บริการอยู่ที่ 95%  กำหนดระดับสินค้าคงคลังสูงสุด MAX เท่ากับจุดสั่งซื้อใหม่บวกกับปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม EOQ   ผลจากการทดสอบกับข้อมูลความต้องการจริงในปี 2557 สรุปได้ว่านโยบายที่สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยสินค้าได้ 47-119 วัน และสามารถลดต้นทุนรวมจากการรอคอยสินค้าได้ 645,935 บาท   นำโชค ย้อยดี และ กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการการวิจัยดำเนินงาน ORNET2016 Slide: ORNET2016-randomLT-present Full paper: ORNET2016-randomLT

ภาพงานประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ (ORNET) 2016

ภาพบรรยากาศ งานประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ (ORNET) 2016 จัดที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ระหว่าง วันที่ 24-25 มีนาคม ชาว OR มาเจอกัน อุ่นหนาฝาคั่ง มี นศ Logistics Management at NIDAเข้าร่วมพรีเซ้นท์งานนี้ด้วยครับ      

การตัดสินใจในปัญหาที่ซับซ้อน “ดีขึ้น” ได้ด้วยการวิจัยดำเนินงาน (Operations Research: OR) 

  ในธุรกิจโลกปัจจุบันที่การแข่งขันทวีความรุนแรง ความต้องการของลูกค้ามีหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปัญหาที่ซับซ้อน การตัดสินใจที่เฉียบคมรอบคอบเหมาะสมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้   การวิจัยดำเนินงานเป็นสาขาวิชาการที่ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิเคราะห์ขั้นสูงมาใช้ช่วยในการตัดสินใจ  เมื่อนำหลักการวิจัยดำเนินงานไปใช้ เช่น เริ่มต้นจากวิเคราะห์ข้อมูล นำไปสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์พร้อมทั้งหาคำตอบโดยอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะทำให้สามารถวิเคราะห์ผลตอบแทนของแต่ละทางเลือก  และนำไปช่วยตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงลดลง สามารถพัฒนาระบบการดำเนินงานให้ดีขึ้น และนำไปสู่การประเมินหาทางเลือกที่ดีที่สุด   จากชื่อ การวิจัยดำเนินงาน หรือ Operations Research ก็คือ “research on operations”  วิจัย (research) ว่าทำอย่างไรถึงจะดำเนินงาน (operations) ให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพที่สุด  เป็นการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้การตัดสินใจที่ดีขึ้น  หรือโดยย่ออย่างที่เคยมีการทำแคมเปญ OR: The Science of Better

การจัดการรายได้ สายการบิน Bangkok Airways

บรรยายพิเศษวิชาการจัดการรายได้ (Revenue Management: RM) โดยคุณอมลกรณ์ ใหม่ทา Revenue Management Manager, Bangkok Airways เนื้อหาสาระแน่นจากคนวงในประสบการณ์ทำงานกว่า 10+ ปี หัวข้อที่กล่าวถึงเช่น ภาพกว้างธุรกิจสายการบิน IATA, GDS การทำ Pricing, Sales & Marketing ของสายการบิน ตัววัดประสิทธิภาพ (e.g., Load Factor, Yield, RASK) seat inventory control, overbooking และระบบการจัดการรายได้ เช่น PROS, Sabre

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA (คุณชนินทร พรหมสาส์น)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA โดย คุณชนินทร พรหมสาส์น ปัจจุบันทำงานบริษัท Berli Jucker Public Company Limited (BJC)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA (คุณจิติภรณ์ พิพัฒน์รัตนมณี)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA โดยคุณจิติภรณ์ พิพัฒน์รัตนมณี ปัจจุบันทำงานเป็น Customs Compliance บริษัท Thai Yamaha Motor  

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA (คุณปิยชาติ พฤกษารยางกูล)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA โดยคุณปิยชาติ พฤกษารยางกูล ปัจจุบันทำงานที่บริษัท Ricoh ประเทศไทย  

เปิดใจ…มหาบัณฑิต โลจิสติกส์ นิด้า สุดประทับใจได้ทั้งความรู้และประสบการณ์อันล้ำค่า

นายนรา หาญจวณิช มหาบัณฑิตสาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ ปัจจุบันทำงานที่ บริษัท Seagate Technology ดูแลเรื่องการจัดสรรทรัพยากรในการวางแผนกำลังการผลิต เปิดเผยถึงความประทับใจในโอกาสสำเร็จการศึกษาที่นิด้า “สิ่งที่ผลประทับใจนิด้ามากที่สุด คือ ห้องสมุด ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สถานที่ที่ผมเข้าไปใช้บริการของสถาบันเยอะที่สุด คือ ห้องสมุด มันค่อนข้างจะเหมือนห้องสมุดที่อยู่ในภาพยนตร์ ผมว่า “ความรู้” คงได้รับกันทุกคน แต่ในมุมมองของผล สิ่งที่ผมได้รับจริงๆ คือ มุมมอง ประสบการณ์ และ Connection จากเพื่อนๆ ในรุ่น สมมติว่าถ้าผมไม่ได้เรียนปริญญาโท ผมก็รู้แค่เนื้องานของผมที่พบเจอมา แต่การที่มาเรียน ได้มานั่งฟัง มีการแลกเปลี่ยนความคิด มันทำให้รู้ว่าในแต่ละสถานการณ์มุมมมองของคนอื่นเขาคิดกันยังไง และยิ่งไปกว่านั้นมันสามารถบอกเราได้ว่า เรายังขาดอะไรอยู่บ้าง” Facebook NIDA Thailand. December 30, 2015.

1 13 14 15 16 17 19