กรณีศึกษานโยบายสินค้าคงคลังสำรองอะไหล่ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักที่มี ช่วงเวลานำไม่แน่นอน ของบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายหนึ่ง

บริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของประเทศ มีเครื่องจักรกลหนักที่ใช้ในการส่งวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่สายการผลิต ในปัจจุบันบริษัทไม่มีการเก็บอะไหล่ไว้สำรองสำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลหนักซึ่งใช้งานมานานแล้วจึงเกิดความเสียหายจากการใช้งาน   ดังนั้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังและกำหนดนโยบายสำหรับการสั่งซื้ออะไหล่ของบริษัท เมื่อวิเคราะห์ความสำคัญของอะไหล่จากผลกระทบจากความเสียหาย จะได้ว่าอะไหล่ที่มีความจำเป็นที่จะต้องสำรองสูงคือ สายน้ำมันไฮโดรลิค  จากการวิเคราะห์ข้อมูลปี 2556 พบว่าระยะเวลานำในการสั่งซื้อไม่แน่นอน ค่าต่ำสุดและสูงสุดอยู่ที่ 1 และ 104 วันตามลำดับ  ปริมาณความต้องการอะไหล่ก็ไม่แน่นอนเช่นกันและกำหนดให้แจกแจงแบบปัวซง     ผู้วิจัยสร้างตัวแบบจำลองบนโปรแกรมตาราง spreadsheet เพื่อใช้ในการกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ โดยกำหนดระดับการให้บริการอยู่ที่ 95%  กำหนดระดับสินค้าคงคลังสูงสุด MAX เท่ากับจุดสั่งซื้อใหม่บวกกับปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม EOQ   ผลจากการทดสอบกับข้อมูลความต้องการจริงในปี 2557 สรุปได้ว่านโยบายที่สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยสินค้าได้ 47-119 วัน และสามารถลดต้นทุนรวมจากการรอคอยสินค้าได้ 645,935 บาท

 

นำโชค ย้อยดี และ กาญจ์นภา อมรัชกุล

การประชุมวิชาการการวิจัยดำเนินงาน ORNET2016

Slide: ORNET2016-randomLT-present

Full paper: ORNET2016-randomLT