“รถทัวร์ต้นทุนต่ำ” จริงหรือฝันไป?: Megabus ปฏิวัติรูปแบบธุรกิจรถทัวร์ระหว่างเมืองใหญ่

จากข่าวช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ว่า “เจ๊เกียว” มีแนวคิดทำ “รถทัวร์ต้นทุนต่ำ” โดยจะปรับลดตั๋วไม่เกิน 20% ไม่กี่ที่นั่ง บางข่าวว่าที่นั่งลดราคานี้มีเพียง 4-5 ที่นั่งไม่แน่ใจว่าตำแหน่งอยู่ตรงไหนของรถ ตั๋วลดราคานี้สำหรับบางเส้นทาง สำหรับคนจองล่วงหน้า ที่เดินทางในช่วงไม่ใช่เทศกาลหยุดยาว เพื่อให้มาแข่งกับสายการบิน Low Cost (LC) ได้ จริงหรือฝันไป? บทความนี้ขอยกตัวอย่างบริษัทรถทัวร์ Megabus (megabus.com) ที่ประสบความสำเร็จ ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองเป็นหนึ่งในรูปแบบการเดินทางที่เติบโตสูงสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา การเดินทางรถทัวร์ถูกเปลี่ยนโฉมด้วย Megabus นับเป็นการปฏิวัติ re-image การเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ในสหรัฐเลยทีเดียว รถทัวร์ Megabus ได้ทำอะไรไปบ้างและทำอย่างไร แล้วรถทัวร์ของเจ๊พร้อมหรือยัง?

10 ทักษะจำเป็นสำหรับนักการจัดการโลจิสติกส์

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่องค์กรธุรกิจเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรง องค์กรได้ดึงเอาการจัดการโลจิสติกส์มาเป็นกลยุทธ์สำคัญ เนื่องด้วยการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีสามารถเพิ่มคุณค่าในการให้บริการลูกค้า นอกจากนี้กิจกรรมโลจิสติกส์ยังมีต้นทุนสูง ธุรกิจในประเทศไทยโดยรวมมีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์คิดเป็น 14.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือประมาณ 1,835.2 พันล้านบาท

สายการบินขายตั๋วราคาถูกแต่ยังสามารถทำกำไรได้ : หนึ่งเบื้องหลังจากการจัดการรายได้หรือ Yield Management

หลังปีใหม่นี้เจอกระแสอีกรอบให้สายการบิน Low Cost (LC) “ขึ้นราคา” บ้างว่าตั๋วลดราคา (discount tickets) ของสายการบินจะไปแย่งลูกค้ารถทัวร์เพราะราคาตั๋วเครื่องบิน LC เท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาตั๋วรถทัวร์มาก บ้างว่าสายการบินตั้งราคาต่ำเกินไป จึงเป็นกังวลแทนว่าสายการบินจะไม่ได้กำไร ประเด็นแรกเรื่องการเอาตั๋วลดราคาของสายการบินที่อาจมีเพียงไม่กี่ที่นั่งบนเครื่อง แถมต้องรอซื้อเฉพาะบางวันเวลาที่โอกาสเหมาะ ไปเปรียบเทียบตั๋วราคาเดียวทุกที่นั่งของรถทัวร์ เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสม สามารถอ่านได้ที่บทความ “Traditional Pricing ของตั๋วโดยสารรถทัวร์ versus Dynamic Pricing ของตั๋วโดยสารเครื่องบิน Low Cost หนึ่งกลยุทธ์เชิงราคาของการจัดการรายได้/Pricing & Revenue Optimization”  สำหรับในบทความนี้เราจะกล่าวถึงประเด็นที่สองเรื่องความสามารถในการทำกำไรทั้งๆ ที่มีการขายตั๋วลดราคาของสายการบิน ส่วนหนึ่งเพราะมีการจำกัดจำนวนตั๋วลดราคาเอาไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ว่าขายตั๋วในราคาต่ำทั้งหมดทุกที่นั่ง สายการบินมีการเผื่อตั๋วจำนวนหนึ่งไว้ขายที่ราคาเต็มด้วย นี่เป็นอีกตัวอย่างของการจัดการรายได้ (Revenue Management/Pricing & Revenue Optimization) หรือที่ธุรกิจการบินมักเรียกว่า Yield Management ซึ่งมีจุดหมายเพื่อให้ได้กำไรรวมสูงสุดจากที่นั่งบนเครื่องที่มีจำกัด

Traditional Pricing ของตั๋วโดยสารรถทัวร์ versus Dynamic Pricing ของตั๋วโดยสารเครื่องบิน Low Cost หนึ่งกลยุทธ์เชิงราคาของการจัดการรายได้ / Pricing & Revenue Optimization

รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) http://as.nida.ac.th/th/ เมื่อช่วงที่ผ่านมา มีกระแสการเปรียบเทียบราคาตั๋วโดยสาร promotion ของสายการบิน Low Cost (LC) กับราคาตั๋วโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ว่ามีราคาใกล้เคียงกัน และวิจารณ์การตั้งราคาพร้อมทั้งลงความเห็นว่าอาจเป็นสาเหตุให้บริษัทเดินรถเดือดร้อน ก่อนที่เราจะไปตัดสินว่าสายการบิน LC ตั้งราคาต่ำเกินจริงหรือไม่ หรือมีผลดีผลเสียกับผู้บริโภคหรือกระทบบริษัทอย่างไร รัฐควรเข้าแทรกแซงไหม ในบทความนี้เราหวังจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของกลยุทธ์การตั้งราคา traditional pricing ของตั๋วรถทัวร์กับ dynamic pricing ของตั๋วเครื่องบิน LC ตั๋วรถทัวร์ของบางบริษัท ขายล่วงหน้าก่อนการเดินทางภายใน 60 วัน และปิดขายก่อนรถออก 7 ชั่วโมง ไม่ว่าเราจะซื้อตั๋วเดินทางจากหมอชิตไปสถานีขนส่งพิษณุโลกเดินทางวันพฤหัสที่ 7 สิงหาคม 2557 ก่อนล่วงหน้า 55 วัน หรือ 5 วัน ก็จะได้ตั๋วรถทัวร์ราคาเดียวกัน นี่เป็นตัวอย่างกลยุทธ์ของ traditional “fixed” […]