การกำหนดจุดสั่งซื้อและระดับปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุง กรณีศึกษา บริษัทผลิตเยื่อและกระดาษ

การกำหนดจุดสั่งซื้อและระดับปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุง กรณีศึกษา บริษัทผลิตเยื่อและกระดาษ จารุวรรณ พรรธนาลัย บริษัทที่ศึกษา เป็นบริษัทที่ผลิตเยื่อและกระดาษ  มีการเดินเครื่องจักร 24 ชั่วโมง ดังนั้น  งานซ่อมบำรุงจึงมีส่วนสำคัญ Slide งานค้นคว้าอิสระ Presentation_Jaruwan Phattanalai

การจัดการสินค้าคงคลังด้วย Joint Replenishment Model ร่วมกับ Order-Up-To Policy

การศึกษาการพยากรณ์ความต้องการและนโยบายการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท ABC นิศาชล ไทรชมภู ใช้นโยบายสินค้าคงคลัง Periodic Review (R,S) โดยจะคำนวณคาบ (R) และ Order-Up-To Level (S) ดังนี้ คาบ (review period) มาจากผลเฉลยของตัวแบบ Joint Replenishment ปริมาณความต้องการที่ใช้ตัวแบบ ได้มาจากค่าพยากรณ์ซึ่งทำให้ MAD, MSE, MAPE ต่ำสุด หาผลเฉลยของ Joint Replenishment Problem โดยใช้ Excel Solver ระดับสั่งถึง (order-up-to level) ใช้ที่ระดับการให้บริการ 95% Slide งานค้นคว้าอิสระ Presentation นิศาชล New  

การวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

การวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ศศิมา เมฆรุ่งโรจน์  ปัญหาที่พบ ผลิตแบบ make to order  โดยไม่มีการวางแผนการผลิตรวม (aggregate planning) จากปริมาณความต้องการสินค้าตลอด 49 สัปดาห์ ปี 2558, มีสินค้าขาดมือรวม 3,411 โม่ คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านบาท  เครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา เพื่อ reduce backorder cost Aggregate Planning Model Made to Stock Slide Sasima Mekrungroj Presentation

แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาการประยุกต์ Vehicle Routing Problem (VRP) เพื่อปรับปรุง การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง

แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ตัวแบบ Vehicle Routing Problem (VRP) เพื่อปรับปรุง การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง นายลักษณ์พิเชษฐ คชวัตร  LM7 จุดประสงค์ของการศึกษา ศึกษาระบบการสั่งซื้อ ความเหมาะสมของวิธีการขนส่งในปัจจุบัน เส้นทางการเดินรถปัจจุบัน และตำแหน่งที่ตั้งโรงงานของซัพพลายเออร์ พัฒนาตัวแบบการเดินรถด้วย VRP Model ที่มีความเหมาะสมและ นำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษานี้ ทำการคำนวณค่าใช้จ่าย ระยะทางเพื่อ หาจัดเส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าเพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าและหาจำนวนรถที่ต้องใช้ เพื่อจัดเตรียมว่าจ้างในแต่ละวัน และเวลารับส่งที่เหมาะสม นำผลการศึกษามาใช้กับข้อมูลกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งและเป็นทางเลือกให้กับบริษัท Slide VRP-Public Version

Dynamic Lot Sizing Model: Case Study of Inventory for Coal in Cement Industry

การกำหนดจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมด้วยวิธีแบบพลวัต กรณีศึกษาการสั่งซื้อถ่านหินสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ นางสาวนิรชร วะชุม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการ, ระบบและรายละเอียดของการสั่งซื้อถ่านหินในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เพื่อศึกษาค้นคว้าหาตัวแบบที่เหมาะสมกับลักษณะของการสั่งซื้อถ่านหิน และทำการวิเคราะห์หาระบบการสั่งซื้อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อนำแนวทางที่ค้นคว้ามาได้ ประยุกต์ใช้จริงกับบริษัทกรณีศึกษาในระบบการสั่งซื้อถ่านหิน ให้นำมาซึ่งต้นทุนรวมที่ลดลง สรุปผลการศึกษา ใช้ Holt’s method มาพยากรณ์ราคาถ่านหิน คำนวณ safety stock ซึ่งมาจากความไม่แน่นอนของ lead time สร้าง dynamic lot sizing model และหาผลลัพธ์โดยใช้ Microsoft Excel Premium Solver Pro หากได้นำผลลัพธ์นี้ไปใช้ สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 372.85 ล้านบาทต่อปี (ประมาณ 22% ของ spending) Slide IS Presentation Nirachorn Wachum

การศึกษาหาปริมาณการสั่งผลิตและจุดสั่งผลิตที่เหมาะสม กรณีศึกษาบริษัทผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยว XYZ

วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม จุดสั่งซื้อที่เหมาะสมและจำนวนสินค้าคงคลังเพื่อความปลอดภัย เพื่อหาต้นทุนในการจัดการสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด ของบริษัทผลิตขนมขบเคี้ยว XYZ นายธวัชชัย แย้มวจี Slide การหาปริมาณการสั่งซื้อและจุดสั่งซื้อ-ธวัชชัย

การวางแผนจัดตู้คอนเทนเนอร์ลงเรือบรรทุกสินค้า กรณีศึกษา บริษัทให้บริการขนส่งทางเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทย

บทความนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาการวางแผนการจัดส่งสินค้าทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในแต่ละสัปดาห์ ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์เพื่อไปส่งท่าเรือในยุโรป 7 ท่าเรือ เส้นทางเดินเรือมีทั้งหมด 4 เส้นทางแบบเครือข่าย ปัญหาการจัดส่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่วนมากเกิดจากตู้คอนเทนเนอร์บางส่วนไม่สามารถส่งไปยังท่าเรือในยุโรปภายในระยะเวลาที่ลูกค้ากำหนด เนื่องจากเรือแม่ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์ไปยังท่าเรือที่ลูกค้าต้องการนั้นบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จนเต็มจำนวนที่บริษัทสามารถใช้ได้ ดังนั้นบริษัทจึงต้องจัดตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นไปยังเรือแม่ของเส้นทางอื่นที่ยังสามารถบรรทุกได้ และใช้วิธีการลงตู้คอนเทนเนอร์ไว้ที่ท่าเรือหนึ่งเพื่อรอให้เรือแม่ที่จะวิ่งไปยังท่าเรือที่ลูกค้าต้องการมาขึ้นตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นไปส่ง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น และก่อให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือต่อบริษัทเมื่อเกิดการจัดส่งที่ล่าช้า นอกจากนี้อาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกค้าหรืออาจให้ส่วนลดเมื่อลูกค้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่ในระยะยาวอาจส่งผลให้เสียลูกค้ารายนั้นไป ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้สร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่จะจัดสรรไปยังเรือแม่ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์ไปยังท่าเรือที่ยุโรปในทั้ง 4 เส้นทาง เพื่อให้ได้กำไรที่สูงสุดและส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดได้ตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ ในการเดินเรือนั้นสามารถเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ไปยังเรือแม่ลำอื่นที่ท่าเรือหนึ่งได้ โดยที่จำนวนตู้คอนเนอร์ที่บรรทุกไปในเรือทั้ง 4 ลำต้องไม่เกินข้อกำหนดที่บริษัทสามารถใช้ได้ และจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ของลูกค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ต้องถูกจัดส่งให้หมดภายในสัปดาห์นั้น ปนัดดา สาระพิทักษ์ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide: ORNET2016-container-present Full paper: ORNET2016-container

การประเมินความยืดหยุ่นด้านความจุของโครงข่ายการขนส่งสินค้า ระหว่างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง กับท่าเรือแหลมฉบัง

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือการพัฒนาตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อใช้ประเมินความยืดหยุ่นด้านความจุของโครงข่ายการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการประเมินหาขีดความจุสูงสุดที่ระบบโครงข่ายขนส่งสินค้าสามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงความจุคงเหลือ ของโครงข่าย การประเมินหาความจุของโครงข่ายใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์จากปัญหา 2 ระดับ (Bi-level Programming) ประกอบด้วย ปัญหาระดับบน (Upper Level) ซึ่งเป็นการคำนวณหาค่าที่มากที่สุดของตัวคูณความจุสำรองภายในโครงข่ายทางหลวง หรือ μ และปัญหาระดับล่าง (Lower Level) ซึ่งจะแสดงพฤติกรรมการเลือกเส้นทางสำหรับการขนส่งสินค้า โดยพิจารณาจากปัญหาการเลือกเส้นทางที่จุดสมดุลของผู้เดินทาง (User Equilibrium) โดยการศึกษานี้ได้เลือกศึกษาโครงข่ายการขนส่งสินค้าระหว่างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบังกับท่าเรือแหลมฉบัง ที่ประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายรถไฟเป็นกรณีศึกษา และทำการเปรียบเทียบสถานการณ์การขนส่งสินค้า 3 สถานการณ์ คือ 1) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเพียงรูปแบบเดียว 2) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าร่วมกันผ่านรถบรรทุกและรถไฟในช่วงเวลาปัจจุบัน และ 3) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าร่วมกันผ่านรถบรรทุกและรถไฟในอนาคต (หลังเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ) ซึ่งผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ที่ 1 และ 2 มีความจุของโครงข่ายทางหลวงหลักที่ใช้ขนส่งสินค้าไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการในปัจจุบัน โดยมีค่า μ เท่ากับ 0.39 และ 0.62 ตามลำดับ ในส่วนของสถานการณ์ที่ […]

การพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษามันสำปะหลังในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งของภาครัฐคือการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาพิจารณาเพียงเรื่องของต้นทุน ระยะเวลาที่ใช้ และความน่าเชื่อถือ แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือ ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน ซึ่งแสดงถึงความสามารถที่ระบบจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐยังไม่ได้กล่าวถึงมากนัก บทความนี้จึงได้พัฒนาตัวแบบกำหนดการเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม (Mixed Integer Linear Programming) เพื่อใช้วัดความยืดหยุ่น (Flexibility) โดยนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษามันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศแต่ปริมาณผลผลิตน้อยและไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งการพัฒนาตัวแบบพิจารณาตั้งแต่ส่วนการเพาะปลูก การแปรรูปและการขนส่ง โดยตัวแบบที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตัวแบบย่อยคือ ตัวแบบที่ 1 เป็นตัวแบบประเมินความสามารถพื้นฐานภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต การจัดเก็บ การขนส่งของเกษตรกรและโรงงานแปรรูปเพื่อให้เกิดต้นทุนที่ต่ำที่สุด  ส่วนตัวแบบที่ 2 เป็นตัวแบบประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานโดยอ้างอิงความสามารถพื้นฐานจากตัวแบบที่ 1 และผลจากตัวแบบนี้จะทำให้ทราบถึงความสามารถสูงสุดของเกษตรกร โรงงานแปรรูป และระบบการขนส่งที่สามารถรองรับได้ ซึ่งตัวแบบสามารถเป็นเครื่องมือช่วยกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพของโซ่อุปทานรวมถึงระบุจุดคอขวดของระบบเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ สราวุธ จันทร์สุวรรณ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide: ORNET2016-cassava-present Full paper:ORNET2016-cassava

ตัวแบบการจองปริมาณบรรทุกสินค้าจากสายการบิน

งานวิจัยนี้ศึกษาตัวแบบการจองปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าจากสายการบินของบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยสร้างตัวแบบให้สอดคล้องกับการทำงานจริงของบริษัทกรณีศึกษาและดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล การจองปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าจากสายการบินต้องจองในปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่เหมาะสมที่จะจองปริมาณบรรทุกสินค้าเกินความต้องการส่งออกจริงไปได้มาก เนื่องจากรายได้ที่แท้จริงที่สายการบินจะได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าที่ส่งออกจริงในแต่ละเที่ยวบิน และในขณะเดียวกันหากทางบริษัทจองปริมาณบรรทุกสินค้าจากสายการบินน้อยเกินไปอาจจะทำให้ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างเพียงพอ ผู้วิจัยจึงศึกษาทั้งกำไรเฉลี่ยของการส่งออกสินค้าในแต่ละเที่ยวบิน และการใช้ประโยชน์ (Utilization) จากการจองปริมาณบรรทุกสินค้าที่แตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าบริษัทกรณีศึกษาสามารถนำผลการดำเนินงานไปประกอบการตัดสินใจเพื่อกำหนดปริมาณบรรทุกสินค้าล่วงหน้าที่ต้องจองกับสายการบินได้ อภิญญา เทพพนมรัตน์ กาญจ์นภา อมรัชกุล การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide:ORNET2016-aircargo-present Full paper: ORNET2016-aircargo

1 5 6 7 8