OR-NET2017

ผลงานนักศึกษาป.โท โลจิสติกส์ นิด้า ที่ได้เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการแห่งชาติ ด้านการวิจัยดำเนินงาน ประจำปี 2560 (National Operations Research Network Conference (OR-NET) 2017) การประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตรด้วยตัวแบบสโตแคสติก กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย/ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ และ สราวุธ จันทร์สุวรรณ (slide OR-NET Presentation_OR039 )  ได้รับรางวัลบทความดีเด่น การจัดเส้นทางเดินรถด้วยขั้นตอนวิธี Hybrid Saving-Sweep Algorithm กรณีศึกษาของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง/ลักษณ์พิเชษฐ คชวัตร และ สราวุธ จันทร์สุวรรณ การกำหนดสัดส่วนการจองและการจองเกิน กรณีศึกษาโรงแรมแห่งหนึ่ง/ณัฐ พงศ์ไทย และ กาญจ์นภา อมรัชกุล (slide OR_Hotel presentation_Nut_Phongthai  Full paper Nut-Proceedings OR-NET 2017 )

โครงการพระราชดำริ ร. 9 และตัวแบบการจัดสรรทรัพยากร

Course project ของวิชา Decision Models: ตัวแบบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง และ/หรือ โครงการพระราชดำริของในหลวง ร.9 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกบบ้านดอนขี้เหล็ก วางแผนการเลี้ยงกบที่ขายสามชนิดได้แก่ กบเนื้อ ลูกกบ และลูกอ๊อด เพื่อใได้กำไรรวมสูงสุด โดยจำนวนบ่อที่เลี้ยงต้องใช้พื้นที่ไม่เกินบ่อที่มี และกบที่ได้ต้องเพียงพอกับปริมาณความต้องการ Link to project presentation file project-frog โครงการแก้มลิง อ่างเก็บน้ำบ้านหรา จ.สตูล กำหนดความกว้าง ยาว สูงของอ่างเก็บน้ำ โดยให้เสียพื้นที่เขื่อนน้อยที่สุด (จะได้มีการถางป่าน้อยที่สุด) แต่ยังสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำของคนในพื้นที่ได้ Link to project presentation file project-reservoir จัดทำโดยนักศึกษาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ภาคปกติ รุ่น 1/2559

พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง

รายการสภาท่าพระอาทิตย์ “พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง” ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า ออกอากาศ ASTV  11/11/2016  เอกสารประกอบการบรรยายโดย Rapeepat Chaiprasittikul

พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 กระผมได้มีโอกาสขับรถโดยใช้สะพานจตุรทิศอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดสามารถเชื่อมโยงกับถนนสายสำคัญได้หลายสายเช่น ถนนศรีอยุธยา ถนนอโศก-ดินแดง ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม9 และทางด่วนขั้นที่สอง ผู้สัญจรที่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯก็นิยมใช้เส้นทางนี้เพราะนอกจากจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางเข้าเมืองได้แล้ว ยังไม่ต้องเสียค่าผ่านทางอีก กระผมเองยังเคยคิดว่าใครกันหนอเป็นผู้ริเริ่มโครงการลักษณะแบบนี้ ช่างชาญฉลาดเสียเหลือเกิน ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะว่าโครงการลักษณะนี้เป็นโครงการที่มีการลงทุนไม่สูงมากแต่กลับช่วยเชื่อมโยงการเดินทาง ลดปัญหาจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี อยากจะให้มีโครงการลักษณะแบบนี้หลายๆ แห่งทั่วกรุงเทพฯ เก็บความสงสัยได้ไม่นานก็กลับกระผมได้กลับมาค้นคว้าดูว่าโครงการนี้มีที่มาอย่างไรซึ่งก็พบว่าสะพานจตุรทิศแท้จริงแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายจตุรทิศ โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพุทธศักราช ๒๕๓๘ เพราะทรงตระหนักว่าปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนับวันก็ยิ่งเลวร้ายลงและการแก้ปัญหาจราจรมักจะไม่ได้พิจารณามองเป็นทั้งโครงข่าย แต่กลับ แก้ปัญหาแบบเป็นจุดๆ เพื่อคลี่คลายเฉพาะหน้า ดังนั้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนั้นจำเป็นต้องวางแผนให้เป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงถนน สะพาน และ โครงการขนาดย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้การไหลเวียนของการจราจรนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเดินทางข้ามเมืองก็จะเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเข้าไปแออัดกันในเมือง และนี่คือที่มาของโครงข่ายจตุรทิศที่เชื่อมต่อเส้นทางจราจรในแนวทิศทางตะวันออก-ตะวันตกอันเกิดจากพระราชดำริจนสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาจราจรของกรุงเทพฯได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปที่ ๑ โครงข่ายจตุรทิศ (ที่มา: สำนักงาน กปร.) ด้วยพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ นั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงมีพระราชดำริพัฒนาโครงการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากมายตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าการจราจรระหว่างกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกและตะวันออกนั้นจะมีปัญหาติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพการจราจรที่ติดขัดต่อเนื่องตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนพระบรมราชชนนี จึงมีพระราชดำรัส ในเดือน มิถุนายน ๒๕๓๘ ความตอนหนึ่งว่า “…หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้จะมีประโยชน์มาก…” กรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงซึ่งเป็นสองหน่วยงานหลักได้น้อมนำพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติโดยร่วมกันก่อสร้างทางโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี มีจุดเริ่มต้นจากแยกอรุณอัมรินทร์ไปจนถึงพุทธมณฑลสาย ๒ […]

ร่างกรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบหลายศูนย์แบบยั่งยืน (Polycentric Cities and Sustainable Development)

ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถานการณ์ปัญหาการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การรายงานความติดขัดของมหานครทั่วโลก ของ บริษัท ทอมทอม (TomTom) ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบนำทางจีพีเอส (GPS) พบว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความติดขัดสูงเป็นอันดับสองรองมาจากเมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก รายงานยังสรุปว่า สถานการณ์จราจรในกรุงเทพมหานครค่อนข้างสุดโต่งและอาจเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากชนชั้นกลางของประเทศเติบโตขึ้นและมีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลเพราะเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงสถานะทางสังคม (ที่มา: หนังสือพิมพ์ออนไลน์ posttoday.com) ปริมาณรถยนต์สะสมในกรุงเทพมหานครในปี 2558 มีถึง 9 ล้านคัน มีรถยนต์ใหม่เพิ่มขึ้นทุกวันวันละกว่า 1,000 คัน รถจักรยานยนต์ก็เพิ่มใกล้เคียงกันคือวันละ 1,100 คันขณะที่ปริมาณถนนที่มีอยู่เพิ่มขึ้นไม่เพียงพอต่อปริมาณอุปสงค์ของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ข้อมูลด้านการจราจรในปี 2558 ระบุว่ารถยนต์ส่วนบุคคลสามารถทำความเร็วเฉลี่ยได้เพียง 15 กม./ชั่วโมงในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า และ 22 กม./ชั่วโมงในช่วงเร่งด่วนเย็น กรณีที่เกิดปัญหาบนท้องถนนเช่น อุบัติเหตุ น้ำท่วม ความเร็วในการเดินทางก็จะต่ำกว่า 10 กม./ชั่วโมง หากเราลองคำนวณรัศมีการเดินทางจากเขตชานเมืองรอบกรุงเทพมหานครเพื่อเข้ามาทำงานที่ศูนย์กลางเมืองอย่างสีลม หรือ สาทร นั้นพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางได้ภายใน 1 ชั่วโมงแสดงในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ารัศมีครอบคลุมทางทิศเหนือ ถึงช่วงปากเกร็ด นนทบุรี  […]

Thai VCML 2016

งานค้นคว้าอิสระของ นายณัฐภูมิ ปิติจารุวิเศษและอ.ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ เรื่อง การประยุกต์ใช้ตัวแบบ Network Flow Allocation เพื่อการบริหารจัดการระบบบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน กรณีศึกษา : การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ของบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้รับรางวัลบทความดีเด่น (Best Paper Award) ใน การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ครั้งที่ 16   การพัฒนาแผนเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการขนส่งสินค้า ด้วยตัวแบบ Network Reserved Capacity Model นายรพีพัฒน์ ชัยประสิทธิกุล และที่ปรีกษา ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ   ปัญหาการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่งโดยใช้ตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้น กรณีศึกษา บริษัทน้ำมันแห่งหนึ่ง นายณัฐวุฒิ อัศวมาชัย  ที่ปรึกษา รศ.ดร.กาญจ์นภา อมรัชกุล   การศึกษาการจองปริมาณบรรทุกสินค้าที่เหมาะสมระหว่างตัวแทนรับขนส่งสินค้าและสายการบิน อภิญญา  เทพพนมรัตน์ ที่ปรึกษา รศ.ดร.กาญจ์นภา อมรัชกุล Slide Thai VCML-Apinya

การกำหนดจุดสั่งซื้อและระดับปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุง กรณีศึกษา บริษัทผลิตเยื่อและกระดาษ

การกำหนดจุดสั่งซื้อและระดับปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุง กรณีศึกษา บริษัทผลิตเยื่อและกระดาษ จารุวรรณ พรรธนาลัย บริษัทที่ศึกษา เป็นบริษัทที่ผลิตเยื่อและกระดาษ  มีการเดินเครื่องจักร 24 ชั่วโมง ดังนั้น  งานซ่อมบำรุงจึงมีส่วนสำคัญ Slide งานค้นคว้าอิสระ Presentation_Jaruwan Phattanalai

การจัดการสินค้าคงคลังด้วย Joint Replenishment Model ร่วมกับ Order-Up-To Policy

การศึกษาการพยากรณ์ความต้องการและนโยบายการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท ABC นิศาชล ไทรชมภู ใช้นโยบายสินค้าคงคลัง Periodic Review (R,S) โดยจะคำนวณคาบ (R) และ Order-Up-To Level (S) ดังนี้ คาบ (review period) มาจากผลเฉลยของตัวแบบ Joint Replenishment ปริมาณความต้องการที่ใช้ตัวแบบ ได้มาจากค่าพยากรณ์ซึ่งทำให้ MAD, MSE, MAPE ต่ำสุด หาผลเฉลยของ Joint Replenishment Problem โดยใช้ Excel Solver ระดับสั่งถึง (order-up-to level) ใช้ที่ระดับการให้บริการ 95% Slide งานค้นคว้าอิสระ Presentation นิศาชล New  

การวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด

การวางแผนการผลิตสินค้าเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ศศิมา เมฆรุ่งโรจน์  ปัญหาที่พบ ผลิตแบบ make to order  โดยไม่มีการวางแผนการผลิตรวม (aggregate planning) จากปริมาณความต้องการสินค้าตลอด 49 สัปดาห์ ปี 2558, มีสินค้าขาดมือรวม 3,411 โม่ คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านบาท  เครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา เพื่อ reduce backorder cost Aggregate Planning Model Made to Stock Slide Sasima Mekrungroj Presentation

แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาการประยุกต์ Vehicle Routing Problem (VRP) เพื่อปรับปรุง การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง

แนวทางการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ตัวแบบ Vehicle Routing Problem (VRP) เพื่อปรับปรุง การขนส่งชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง นายลักษณ์พิเชษฐ คชวัตร  LM7 จุดประสงค์ของการศึกษา ศึกษาระบบการสั่งซื้อ ความเหมาะสมของวิธีการขนส่งในปัจจุบัน เส้นทางการเดินรถปัจจุบัน และตำแหน่งที่ตั้งโรงงานของซัพพลายเออร์ พัฒนาตัวแบบการเดินรถด้วย VRP Model ที่มีความเหมาะสมและ นำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษานี้ ทำการคำนวณค่าใช้จ่าย ระยะทางเพื่อ หาจัดเส้นทางเดินรถขนส่งสินค้าเพื่อให้ได้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าและหาจำนวนรถที่ต้องใช้ เพื่อจัดเตรียมว่าจ้างในแต่ละวัน และเวลารับส่งที่เหมาะสม นำผลการศึกษามาใช้กับข้อมูลกรณีศึกษาในปัจจุบัน เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งและเป็นทางเลือกให้กับบริษัท Slide VRP-Public Version

1 6 7 8 9 10 13