การพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อเพิ่มความจุของทางวิ่งด้วยการปรับลำดับการลงจอด กรณีศึกษา สนามบินสุวรรณภูมิ

การพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อเพิ่มความจุของทางวิ่งด้วยการปรับลำดับการลงจอด กรณีศึกษา สนามบินสุวรรณภูมิ นายณัฎฐาวุฑฒิ์ จิรธัมมวัฒน์ และ ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นำเสนอในการประชุมวิชาการการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2561 (Operations Research Network Conference (ORNET2018) จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 23-24 เมษายน 2561 ที่โรงแรม The Zign Resort พัทยา ชลบุรี Presentation slide Presentation-Math model for BKK runway capacity

Supercluster Workshop

ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ นำทีมฝึกอบรมการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ ภายใต้งานศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ รูปแบบอุตสาหกรรมอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ  วันพุธที่ 6 กันยายน 2560 13:00-16:30 ณ ห้องอยุทธยา ชั้น 8 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ การพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์/ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ กรณีศึกษา ระบบเครือข่ายโลจิสติกส์ Super Cluster ในต่างประเทศ/ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (LPI)/ดร. ศิวิกา ดุษฎีโหนด

LM9 Independent Study Project Final Presentation

นศ LM รุ่นที่ 9 ได้นำเสนอผลงานค้นคว้าอิสระ (Independent Study) ให้กับอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์จากบริษัทเอกชน นศ สามารถนำเอาข้อเสนอแนะและแนวคิดที่ได้ไปปรับปรุงคุณภาพของงาน IS เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและองค์กรต่อไป Link to Album https://www.facebook.com/pg/logisticsNIDA/photos/?tab=album&album_id=1365189933597953

Revenue Management Course Project 2017

Course project วิชา Revenue Management เทอม 2559-2 นำเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้ RM ในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าจะได้นำ RM ไปใช้แต่ยังไม่ได้ใช้ สำหรับธุรกิจที่นำ RM ไปใช้อยู่แล้ว ระบุและอภิปรายปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ RM ในบริษัท การประยุกต์ใช้ RM กับ Ski Slopes   และ Pocket WiFi   นำเสนอกรณีศึกษาบริษัท Startup ขาย ski lift และที่พัก online เพิ่มรายได้ และมีลูกค้ามาใช้บริการกว่า 5 ล้านคนต่อฤดูกาล เสนอแนวคิดการนำ price differentiation กับธุรกิจเช่า Pocket WiFi Link to project presentation file  Presentation RM-weekday  […]

OR-NET2017

ผลงานนักศึกษาป.โท โลจิสติกส์ นิด้า ที่ได้เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการแห่งชาติ ด้านการวิจัยดำเนินงาน ประจำปี 2560 (National Operations Research Network Conference (OR-NET) 2017) การประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตรด้วยตัวแบบสโตแคสติก กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย/ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ และ สราวุธ จันทร์สุวรรณ (slide OR-NET Presentation_OR039 )  ได้รับรางวัลบทความดีเด่น การจัดเส้นทางเดินรถด้วยขั้นตอนวิธี Hybrid Saving-Sweep Algorithm กรณีศึกษาของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง/ลักษณ์พิเชษฐ คชวัตร และ สราวุธ จันทร์สุวรรณ การกำหนดสัดส่วนการจองและการจองเกิน กรณีศึกษาโรงแรมแห่งหนึ่ง/ณัฐ พงศ์ไทย และ กาญจ์นภา อมรัชกุล (slide OR_Hotel presentation_Nut_Phongthai  Full paper Nut-Proceedings OR-NET 2017 )

โครงการพระราชดำริ ร. 9 และตัวแบบการจัดสรรทรัพยากร

Course project ของวิชา Decision Models: ตัวแบบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง และ/หรือ โครงการพระราชดำริของในหลวง ร.9 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกบบ้านดอนขี้เหล็ก วางแผนการเลี้ยงกบที่ขายสามชนิดได้แก่ กบเนื้อ ลูกกบ และลูกอ๊อด เพื่อใได้กำไรรวมสูงสุด โดยจำนวนบ่อที่เลี้ยงต้องใช้พื้นที่ไม่เกินบ่อที่มี และกบที่ได้ต้องเพียงพอกับปริมาณความต้องการ Link to project presentation file project-frog โครงการแก้มลิง อ่างเก็บน้ำบ้านหรา จ.สตูล กำหนดความกว้าง ยาว สูงของอ่างเก็บน้ำ โดยให้เสียพื้นที่เขื่อนน้อยที่สุด (จะได้มีการถางป่าน้อยที่สุด) แต่ยังสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำของคนในพื้นที่ได้ Link to project presentation file project-reservoir จัดทำโดยนักศึกษาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ภาคปกติ รุ่น 1/2559

พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง

รายการสภาท่าพระอาทิตย์ “พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง” ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า ออกอากาศ ASTV  11/11/2016  เอกสารประกอบการบรรยายโดย Rapeepat Chaiprasittikul

พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 กระผมได้มีโอกาสขับรถโดยใช้สะพานจตุรทิศอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดสามารถเชื่อมโยงกับถนนสายสำคัญได้หลายสายเช่น ถนนศรีอยุธยา ถนนอโศก-ดินแดง ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม9 และทางด่วนขั้นที่สอง ผู้สัญจรที่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯก็นิยมใช้เส้นทางนี้เพราะนอกจากจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางเข้าเมืองได้แล้ว ยังไม่ต้องเสียค่าผ่านทางอีก กระผมเองยังเคยคิดว่าใครกันหนอเป็นผู้ริเริ่มโครงการลักษณะแบบนี้ ช่างชาญฉลาดเสียเหลือเกิน ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะว่าโครงการลักษณะนี้เป็นโครงการที่มีการลงทุนไม่สูงมากแต่กลับช่วยเชื่อมโยงการเดินทาง ลดปัญหาจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี อยากจะให้มีโครงการลักษณะแบบนี้หลายๆ แห่งทั่วกรุงเทพฯ เก็บความสงสัยได้ไม่นานก็กลับกระผมได้กลับมาค้นคว้าดูว่าโครงการนี้มีที่มาอย่างไรซึ่งก็พบว่าสะพานจตุรทิศแท้จริงแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายจตุรทิศ โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพุทธศักราช ๒๕๓๘ เพราะทรงตระหนักว่าปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนับวันก็ยิ่งเลวร้ายลงและการแก้ปัญหาจราจรมักจะไม่ได้พิจารณามองเป็นทั้งโครงข่าย แต่กลับ แก้ปัญหาแบบเป็นจุดๆ เพื่อคลี่คลายเฉพาะหน้า ดังนั้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนั้นจำเป็นต้องวางแผนให้เป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงถนน สะพาน และ โครงการขนาดย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้การไหลเวียนของการจราจรนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเดินทางข้ามเมืองก็จะเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเข้าไปแออัดกันในเมือง และนี่คือที่มาของโครงข่ายจตุรทิศที่เชื่อมต่อเส้นทางจราจรในแนวทิศทางตะวันออก-ตะวันตกอันเกิดจากพระราชดำริจนสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาจราจรของกรุงเทพฯได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปที่ ๑ โครงข่ายจตุรทิศ (ที่มา: สำนักงาน กปร.) ด้วยพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ นั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงมีพระราชดำริพัฒนาโครงการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากมายตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าการจราจรระหว่างกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกและตะวันออกนั้นจะมีปัญหาติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพการจราจรที่ติดขัดต่อเนื่องตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนพระบรมราชชนนี จึงมีพระราชดำรัส ในเดือน มิถุนายน ๒๕๓๘ ความตอนหนึ่งว่า “…หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้จะมีประโยชน์มาก…” กรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงซึ่งเป็นสองหน่วยงานหลักได้น้อมนำพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติโดยร่วมกันก่อสร้างทางโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี มีจุดเริ่มต้นจากแยกอรุณอัมรินทร์ไปจนถึงพุทธมณฑลสาย ๒ […]

ร่างกรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองแบบหลายศูนย์แบบยั่งยืน (Polycentric Cities and Sustainable Development)

ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถานการณ์ปัญหาการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การรายงานความติดขัดของมหานครทั่วโลก ของ บริษัท ทอมทอม (TomTom) ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบนำทางจีพีเอส (GPS) พบว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความติดขัดสูงเป็นอันดับสองรองมาจากเมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก รายงานยังสรุปว่า สถานการณ์จราจรในกรุงเทพมหานครค่อนข้างสุดโต่งและอาจเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากชนชั้นกลางของประเทศเติบโตขึ้นและมีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลเพราะเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงสถานะทางสังคม (ที่มา: หนังสือพิมพ์ออนไลน์ posttoday.com) ปริมาณรถยนต์สะสมในกรุงเทพมหานครในปี 2558 มีถึง 9 ล้านคัน มีรถยนต์ใหม่เพิ่มขึ้นทุกวันวันละกว่า 1,000 คัน รถจักรยานยนต์ก็เพิ่มใกล้เคียงกันคือวันละ 1,100 คันขณะที่ปริมาณถนนที่มีอยู่เพิ่มขึ้นไม่เพียงพอต่อปริมาณอุปสงค์ของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ข้อมูลด้านการจราจรในปี 2558 ระบุว่ารถยนต์ส่วนบุคคลสามารถทำความเร็วเฉลี่ยได้เพียง 15 กม./ชั่วโมงในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า และ 22 กม./ชั่วโมงในช่วงเร่งด่วนเย็น กรณีที่เกิดปัญหาบนท้องถนนเช่น อุบัติเหตุ น้ำท่วม ความเร็วในการเดินทางก็จะต่ำกว่า 10 กม./ชั่วโมง หากเราลองคำนวณรัศมีการเดินทางจากเขตชานเมืองรอบกรุงเทพมหานครเพื่อเข้ามาทำงานที่ศูนย์กลางเมืองอย่างสีลม หรือ สาทร นั้นพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางได้ภายใน 1 ชั่วโมงแสดงในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ารัศมีครอบคลุมทางทิศเหนือ ถึงช่วงปากเกร็ด นนทบุรี  […]

1 5 6 7 8 9 13