Traditional Pricing ของตั๋วโดยสารรถทัวร์ versus Dynamic Pricing ของตั๋วโดยสารเครื่องบิน Low Cost หนึ่งกลยุทธ์เชิงราคาของการจัดการรายได้ / Pricing & Revenue Optimization

รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) http://as.nida.ac.th/th/ เมื่อช่วงที่ผ่านมา มีกระแสการเปรียบเทียบราคาตั๋วโดยสาร promotion ของสายการบิน Low Cost (LC) กับราคาตั๋วโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ว่ามีราคาใกล้เคียงกัน และวิจารณ์การตั้งราคาพร้อมทั้งลงความเห็นว่าอาจเป็นสาเหตุให้บริษัทเดินรถเดือดร้อน ก่อนที่เราจะไปตัดสินว่าสายการบิน LC ตั้งราคาต่ำเกินจริงหรือไม่ หรือมีผลดีผลเสียกับผู้บริโภคหรือกระทบบริษัทอย่างไร รัฐควรเข้าแทรกแซงไหม ในบทความนี้เราหวังจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของกลยุทธ์การตั้งราคา traditional pricing ของตั๋วรถทัวร์กับ dynamic pricing ของตั๋วเครื่องบิน LC ตั๋วรถทัวร์ของบางบริษัท ขายล่วงหน้าก่อนการเดินทางภายใน 60 วัน และปิดขายก่อนรถออก 7 ชั่วโมง ไม่ว่าเราจะซื้อตั๋วเดินทางจากหมอชิตไปสถานีขนส่งพิษณุโลกเดินทางวันพฤหัสที่ 7 สิงหาคม 2557 ก่อนล่วงหน้า 55 วัน หรือ 5 วัน ก็จะได้ตั๋วรถทัวร์ราคาเดียวกัน นี่เป็นตัวอย่างกลยุทธ์ของ traditional “fixed” […]

การคัดเลือกตัวแทนออกของด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล

การคัดเลือกตัวแทนออกของด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล พรรณวิภา แช่มเล็ก และ พัชราภรณ์ เนียมมณี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2556 บทคัดย่อ การคัดเลือกตัวแทนทำหน้าที่ดำเนินพิธีการศุลกากร เพื่อนำสินค้าเข้าประเทศไทยหรือที่เรียกว่า ตัวแทนออกของ นั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อสายงานโลจิสติกส์ เนื่องจากการดำเนินพิธีการศุลกากรเป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งสินค้า หากองค์กรใดสามารถจัดหาสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำ มีคุณภาพและตรงตามเวลาที่ต้องการจะทำให้องค์กรนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าทั้งในด้านราคา และความรวดเร็วในการส่งมอบ ดังนั้น การประเมินประสิทธิภาพของตัวแทนออกของเพื่อใช้ในการคัดเลือกตัวแทนออกของที่เหมาะสมที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง กรณีศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการเสนอแนวทางการประเมินความสามารถของตัวแทนออกของ โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโอบล้อมข้อมูล (Data Envelopment Analysis, DEA) โดยเทคนิค DEA อาศัยการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์เชิงเส้น ซึ่งไม่ซับซ้อน ใช้แก้ปัญหาการประเมินความสามารถของตัวแทนออกของได้ง่าย โดยใช้ข้อมูลของบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าอิเล็คทรอนิคส์แห่งหนึ่ง ซึ่งได้ติดต่อกับตัวแทนออกของไว้ 4 บริษัท ให้เป็นตัวแทนในการดำเนินพิธีการศุลกากร ในการประเมินประสิทธิภาพของตัวแทนออกของทั้ง 4 บริษัทนี้ ฝ่ายนำเข้าส่งออกได้นำปัจจัยนำเข้า คือ อัตราค่าบริการ อัตราสินค้าเสียหายหรือสูญหาย อัตราการส่งมอบผิดเวลา และอัตราความผิดพลาดของใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเกณฑ์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินบ่งชี้ว่า มีตัวแทนอกของเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่จัดว่ามีประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบ ส่วนตัวแทนออกของอีก […]

การกำหนดปริมาณเงินสดสำรองที่เหมาะสมให้เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ

การกำหนดปริมาณเงินสดสำรองที่เหมาะสมให้เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ: กรณีศึกษา ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย อัครณี ภักดีวงษ์ และ กาญจ์นภา อมรัชกุล คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 118 ถนนเสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน ปี 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2556) Link to full-paper http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJOR/article/view/21428/18565   บทคัดย่อ กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณเงินสดสารองที่เหมาะสมให้กับเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย การวิเคราะห์ใช้ตัวแบบ Newsvendor โดยกาหนดระดับการให้บริการที่ 98% ตัวแปรสุ่มซึ่งแทนปริมาณเงินเบิกถอนในแต่ละรอบเติมเงิน (3.5 วัน) สร้างมาจาก 2 วิธีดังนี้ 1) พิจารณาปริมาณเบิกถอนรวมต่อรอบเติม 2) พิจารณาปริมาณเบิกถอนต่อหนึ่งรายการถอนร่วมกันกับจานวนรายการถอนต่อรอบเติม จากการวิเคราะห์ข้อมูลรายการกดเงินสดย้อนหลัง 24 เดือน ของเครื่องเบิกถอนเงินสดจานวน 11 เครื่องซึ่งถูกคัดเลือกจากบริเวณที่ต่างกัน และมีรายการเบิกถอนเงินสดอย่างต่อเนื่อง พบว่า นโยบายจากวิธีที่ 2 ทาให้ปริมาณเงินสดสารองต่อรอบการเติมและปริมาณเงินสดคงเหลือเมื่อสิ้นรอบการเติมน้อยกว่านโยบายปัจจุบันและนโยบายจากวิธีที่ 1 […]

1 11 12 13