ลูกค้าร้านกาแฟนั่งแช่ไม่สั่งเพิ่ม ร้านกาแฟเสียรายได้มากน้อยเท่าใด?

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมีข่าวร้านกาแฟดังแจกบิลค่านั่งคุยธุรกิจชั่วโมงละพันบาท แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ไม่ได้มีการเก็บจริง แต่…ร้านกาแฟที่เก็บเงินตามนาทีที่ลูกค้านั่งเพิ่งเปิดตัวไปในอังกฤษเมื่อปีนี้ ร้าน Ziferblat มีแนวคิดมาจากลูกโซ่ (chain) ร้านกาแฟจ่ายตามนาที (pay-per-minute café) ใน Russia ที่ว่า ทุกอย่างฟรียกเว้นเวลา ร้านนี้ในอังกฤษจะคิดนาทีละ 0.05 ปอนด์ (GBP) หรือตกชั่วโมงละ 165 บาท เมื่อลูกค้าเดินเข้าประตูมาก็จะได้รับนาฬิกา เพื่อเอาไว้ใช้บอกว่าอยู่ในร้านไปนานเท่าใด เนื่องจากอาหารเครื่องดื่มและ wifi ในร้านรวมอยู่ในอัตรานี้แล้วจึงเสมือนว่าร้านเก็บค่าที่ (space) มากกว่าค่าอาหารเครื่องดื่ม จึงทำให้ Ziferblat เหมือนจะเป็น co-working space มากกว่าร้านกาแฟ บทความนี้จะไม่กล่าวถึงเรื่องการคิดราคา co-working space แต่จะพิจารณาร้านกาแฟที่มีลูกค้าเข้ามานั่งแช่แต่ไม่สั่งเพิ่ม จนอาจทำให้ที่นั่งเต็ม คนอื่นไม่สามารถเข้ามานั่งในร้านได้ ผู้เขียนจะเสนอมุมเบาๆ ว่ารายได้ที่หายไปจากกรณีนี้จะประมาณได้อย่างไร

10 ทักษะจำเป็นสำหรับนักการจัดการโลจิสติกส์

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่องค์กรธุรกิจเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรง องค์กรได้ดึงเอาการจัดการโลจิสติกส์มาเป็นกลยุทธ์สำคัญ เนื่องด้วยการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีสามารถเพิ่มคุณค่าในการให้บริการลูกค้า นอกจากนี้กิจกรรมโลจิสติกส์ยังมีต้นทุนสูง ธุรกิจในประเทศไทยโดยรวมมีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์คิดเป็น 14.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือประมาณ 1,835.2 พันล้านบาท

OVERBOOK – ขายตั๋วเกินที่นั่ง กรณีสายการบิน (วันนี้ที่นิด้า)

รายการวันนี้ที่นิด้า ตอน OVER BOOK – ขายตั๋วเกินที่นั่ง กรณีสายการบิน โดย รศ.ดร.กาญจ์นภา  อมรัชกุล  (อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ นิด้า) ออกอากาศ 28 มิถุนายน 2558 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 9.25 น. ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Thai TV Global Network (TGN) อำนวยการผลิตโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA  http://tv.nida.ac.th/nidatv/videodetail.aspx?vid=568 หรือ https://www.youtube.com/watch?v=Qk0seTXPBTs

ตั๋วเครื่องบินในมือคุณ ยืนยันการเดินทางได้จริงหรือ? ถ้าสายการบินเปิดการจองเกิน

คุณรู้หรือไม่ว่าสายการบินหลักที่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศซึ่งได้แก่ การบินไทย ไทยสมายล์ กานต์แอร์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ บางกอกแอร์เวย์ โอเรียนท์ไทยแอร์ไลน์และไทยไลอ้อนแอร์ นั้น อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสายการบินที่กล่าวมาใช้นโยบายการจองเกิน หรือ Overbooking ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับสายการบิน นโยบายการจองเกินนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันมานานแล้วในการจัดการรายได้ (Revenue Management) หรืออาจเรียกว่า Yield Management มันจึงไม่ใช่นโยบายใหม่แต่อย่างใด จากชื่อนโยบาย “การจองเกิน” เราคงจะพอเดาได้ว่ามันคือการขายตั๋วโดยสาร “มากกว่า” จำนวนที่นั่งจริงบนเครื่องบินนั่นเอง ซึ่งผู้โดยสารอย่างเราๆ คงไม่ทราบว่าสายการบินที่เราใช้บริการอยู่นั้นใช้นโยบายการจองเกินหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วสายการบินได้มีการแจ้งรายละเอียดไว้แล้วในข้อตกลงและเงื่อนไขการบินของสายการบินนั้นๆ

ตัวแบบ Newsvendor ที่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ: กรณีศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าแฟชัน

ตัวแบบ Newsvendor ที่มีข้อจากัดเรื่องงบประมาณ: กรณีศึกษาแบรนด์เสื้อผ้าแฟชัน อวยพร พู่วณิชย์ ศิวิกา ดุษฎีโหนด และ กาญจ์นภา อมรัชกุล คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 118 ถนนเสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2558 Full paper ORNET2015-อวยพร บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาการวางแผนการสั่งผลิตเสื้อผ้าแฟชันของแบรนด์หนึ่งซึ่งมีสินค้าหลักห้าประเภท บริษัทมีสองฤดูการขายต่อปี ต้องสั่งผลิตล่วงหน้า 6 เดือนโดยมีงบประมาณรวมแต่ละฤดูกาลเท่ากับ 35 ล้านบาท หรือ 70 ล้านบาทต่อปี นโยบายในปี 2554-2555 พบว่ามีสินค้าคงเหลือมาก งานวิจัยนี้จึงนาตัวแบบ newsvendor มาประยุกต์ใช้เพื่อหาปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมที่ทาให้ได้ค่าคาดหมายกาไรรวมสูงสุดภายใต้งบประมาณของแต่ละฤดูกาล นโยบายจากตัวแบบข้างต้นหากนาไปใช้กับข้อมูลใน 2556 พบว่ากาไรที่ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7,273,369 บาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทควรใช้งบประมาณรวมอยู่ที่ 50 ล้านบาทต่อปี โดยงบประมาณส่วนที่เหลืออาจนาไปใช้ทากิจกรรมส่งเสริมการตลาดหรือพัฒนารูปแบบการออกแบบสินค้า เพื่อดึงดูดความสนใจและอาจส่งเสริมยอดขายสินค้าในอนาคต คำสำคัญ: การจัดการสินค้าคงคลัง, ตัวแบบ […]

วางแผนโรดทริป (Road Trip) เที่ยวทั่วไทย ยังไงดี?

หลายท่านที่มีโอกาสกลับบ้านในช่วงสงกรานต์คงมีความสุข ได้รดน้ำดำหัวพ่อแม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ แม้ว่าการเดินทางไปกลับอาจจะเหนื่อย ต้องเจอทั้งผู้คน รถราที่ติดขัด แต่การที่กลับไปเจอหน้าคนที่เรารักสักครั้งในรอบปีจะเหนื่อยยังไงก็มีความสุขนะครับ การเดินทางส่วนใหญ่ของผู้คนในช่วงสงกรานต์เป็นการเดินทางระหว่างจุดสองจุดเช่น จากกรุงเทพมหานครไปยังต่างจังหวัดแล้วเดินทางกลับ การวางแผนการเดินทาง (Route Planning) ดังกล่าวก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเพียงแค่เลือกเส้นทางในการเดินทางที่อาจจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด (Shortest Path), เส้นทางที่เร็วที่สุด (Fastest Path), หรือ เลือกเส้นทางเลี่ยงที่ไม่ใช่ทางหลวงสายหลักเพื่อเลี่ยงปัญหาจราจรหรือแวะเที่ยวไปด้วย อันนี้ก็สุดแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน บางคนอาจจะถือโอกาสในช่วงหยุดยาวเดินทางขับรถเที่ยวแบบโรดทริป (Road Trip) ค่ำไหนนอนนั่น ไม่รีบที่จะเดินทางไปให้ถึงจุดหมาย ท่องเที่ยวใช้ชีวิตแบบช้าๆ ค่อย ๆ ซึมซับบรรยากาศ ผู้คน ท้องถิ่น วัฒนธรรม ธรรมชาติ มีความสุขกับการเดินทางเหมือนที่ฝรั่งบอกว่า ห้วงเวลาระหว่างการเดินทางนั้นมีความหมายมากกว่าจุดหมายปลายทาง (Travel is the journey not the destination)

ตัวแบบเชิงปริมาณในการจัดการโลจิสติกส์: การปรับปรุงนโยบายการจองพื้นที่ระวางสินค้าทางอากาศของ Integrator แห่งหนึ่ง

ตัวแบบเชิงปริมาณสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านการจัดการโลจิสติกส์ ทำให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรมากขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้ขอนำเสนอตัวอย่างในการใช้ตัวแบบเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงนโยบายการจองพื้นที่ระวางสินค้าทางอากาศของ Integrator แห่งหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่จะช่วยให้โลจิสติกส์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นและสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับประเทศไทยในอนาคตต่อไปได้

Zoning and surcharge แก้ปัญหาแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้หรือไม่?

อ.ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ อาจารย์พิเศษหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ผมเชื่อว่าคนไทยเกินครึ่งที่เคยใช้บริการแท็กซี่สุวรรณภูมิต้องเคยเจอประสบการณ์ไม่ค่อยดี ไม่ประทับใจ ผมเองเคยเจอมากับตัว ตอนเข้าแถวต่อจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มากับภรรยาชาวไทย ซึ่งใครที่เห็นก็คงจะเดาออกว่า เค้าและเธอต้องไปเที่ยวกันที่ไหนสักแห่งถ้าไม่ใช่พัทยาก็คงจะเป็นหัวหิน นั่งริมชายหาด กินต้มยำกุ้ง ดื่มเบียร์ไทย แต่อันนั้นก็คงไม่สำคัญสำหรับผมหรอกครับ ใครจะไปจะมาเที่ยวเมืองไทย ดีซะอีกเอาเงินทองเข้ามาช่วยชาติบ้านเมืองเรา แต่สิ่งที่ผมเจอหลังจากขึ้นแท็กซี่คันหลังจากคู่สามีภรรยาคู่นั้นก็คือ พี่แท็กซี่ผู้ที่มาเป็นสารถีให้ผมออกอาการหงุดหงิดเป็นการใหญ่ กระฟัดกระเฟียด ฟาดงวงฟาดงา รถออกไปได้สักพักแกก็พูดขึ้นมาว่า “วันนี้ซวยมาก ชวดฝรั่ง ถ้าได้เหมาไปพัทยาคืนนั้นเค้าก็คงจะสบายไปเลย ต่อคิวมาตั้งหลายชั่วโมงมาเจอพี่เนี่ย ผมเซ็งมาก” แหม่ พูดราวกับว่าผมไปขอขึ้นฟรี เนี่ยค่าเซอร์ชาร์จก็จ่ายเพิ่มให้ตามระเบียบ ในวันนั้นผมก็ต้องอดทนทำใจ ไม่ต่อปากต่อคำ จะไปต่อปากต่อคำ พูดจาตอบโต้อะไรก็ห่วงสวัสดิภาพชีวิตตัวเราเอง ทำได้แค่ภาวนาให้เค้าส่งเราถึงบ้านโดยปลอดภัย ผมเชื่อว่าผมคงไม่ใช่คนเดียวที่เจอปัญหาเช่นนี้ ปัญหาที่แต่ละคนเจออาจจะหนักเบาแตกต่างกันไป แต่ผมต้องขอออกตัวก่อนว่าแท็กซี่สุวรรณภูมิที่ดีก็มีไม่ใช่น้อยผมเองก็เคยเจอมากับตัวเอง ทั้งลงมาช่วยยกของขึ้นยกของลง บริการเต็มที่ พูดจาดี แต่พี่แท็กซี่เหล่านั้นกลับโดนกลุ่มแท็กซี่ส่วนน้อยเหล่านั้นลบภาพดีๆ ทำลายชื่อเสียงและความศิวิไลซ์ของเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปเสียจนหมดสิ้น แล้วยิ่งมาเห็นคลิปที่โพสในในโซเชียลเน็ตเวิกโดยชาวญี่ปุ่นแล้วก็คงจะยืนยืนถึงปัญหาคุณภาพการให้บริการและระดับความน่าเชื่อถือของระบบแท็กซี่สนามบินสุวรรณภูมิที่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติไปแล้ว

ตัวแบบแถวคอยช่วยจัดการปัญหารถแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้หรือไม่?

ปัญหารถแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิขาเข้า เช่น แถวคอยยาว เวลารอคอยนาน คนขับรถปฏิเสธผู้โดยสารโดยเฉพาะผู้โดยสารคนไทยและ/หรือมีปลายทางที่คนขับไม่อยากไป (เช่นปลายทางใกล้เกิน หรือต้องรีบไปส่งรถ แก๊สหมด เป็นต้น) เลือกรับเฉพาะชาวต่างชาติ คนขับรถไม่ยอมกดมิเตอร์ คิดเหมาจ่ายในราคาที่สูงมาก อย่างที่พบเห็นได้ใน web board ต่าง ๆ หรือในบทความ “Taxi ของพี่ไทย จะต้อนรับหรือขับไล่นักท่องเที่ยวต่างชาติ” เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 ในคอลัมน์เดียวกันนี้ เราสามารถนำเอาทฤษฎีหรือตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่? ทฤษฎีหนึ่งที่ได้กล่าวถึงในบทความข้างต้น คือ ทฤษฎีแถวคอย (queueing theory) บทความนี้จะแนะนำพร้อมทั้งยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ตัวแบบแถวคอย เพื่อนำไปสู่การตอบปัญหาว่าตัวแบบแถวคอยจะช่วยแก้ปัญหานี้หรือไม่?

สายการบินขายตั๋วราคาถูกแต่ยังสามารถทำกำไรได้ : หนึ่งเบื้องหลังจากการจัดการรายได้หรือ Yield Management

หลังปีใหม่นี้เจอกระแสอีกรอบให้สายการบิน Low Cost (LC) “ขึ้นราคา” บ้างว่าตั๋วลดราคา (discount tickets) ของสายการบินจะไปแย่งลูกค้ารถทัวร์เพราะราคาตั๋วเครื่องบิน LC เท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาตั๋วรถทัวร์มาก บ้างว่าสายการบินตั้งราคาต่ำเกินไป จึงเป็นกังวลแทนว่าสายการบินจะไม่ได้กำไร ประเด็นแรกเรื่องการเอาตั๋วลดราคาของสายการบินที่อาจมีเพียงไม่กี่ที่นั่งบนเครื่อง แถมต้องรอซื้อเฉพาะบางวันเวลาที่โอกาสเหมาะ ไปเปรียบเทียบตั๋วราคาเดียวทุกที่นั่งของรถทัวร์ เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสม สามารถอ่านได้ที่บทความ “Traditional Pricing ของตั๋วโดยสารรถทัวร์ versus Dynamic Pricing ของตั๋วโดยสารเครื่องบิน Low Cost หนึ่งกลยุทธ์เชิงราคาของการจัดการรายได้/Pricing & Revenue Optimization”  สำหรับในบทความนี้เราจะกล่าวถึงประเด็นที่สองเรื่องความสามารถในการทำกำไรทั้งๆ ที่มีการขายตั๋วลดราคาของสายการบิน ส่วนหนึ่งเพราะมีการจำกัดจำนวนตั๋วลดราคาเอาไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ว่าขายตั๋วในราคาต่ำทั้งหมดทุกที่นั่ง สายการบินมีการเผื่อตั๋วจำนวนหนึ่งไว้ขายที่ราคาเต็มด้วย นี่เป็นอีกตัวอย่างของการจัดการรายได้ (Revenue Management/Pricing & Revenue Optimization) หรือที่ธุรกิจการบินมักเรียกว่า Yield Management ซึ่งมีจุดหมายเพื่อให้ได้กำไรรวมสูงสุดจากที่นั่งบนเครื่องที่มีจำกัด

1 10 11 12 13