Zoning and surcharge แก้ปัญหาแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้หรือไม่?

อ.ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ อาจารย์พิเศษหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ผมเชื่อว่าคนไทยเกินครึ่งที่เคยใช้บริการแท็กซี่สุวรรณภูมิต้องเคยเจอประสบการณ์ไม่ค่อยดี ไม่ประทับใจ ผมเองเคยเจอมากับตัว ตอนเข้าแถวต่อจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มากับภรรยาชาวไทย ซึ่งใครที่เห็นก็คงจะเดาออกว่า เค้าและเธอต้องไปเที่ยวกันที่ไหนสักแห่งถ้าไม่ใช่พัทยาก็คงจะเป็นหัวหิน นั่งริมชายหาด กินต้มยำกุ้ง ดื่มเบียร์ไทย แต่อันนั้นก็คงไม่สำคัญสำหรับผมหรอกครับ ใครจะไปจะมาเที่ยวเมืองไทย ดีซะอีกเอาเงินทองเข้ามาช่วยชาติบ้านเมืองเรา แต่สิ่งที่ผมเจอหลังจากขึ้นแท็กซี่คันหลังจากคู่สามีภรรยาคู่นั้นก็คือ พี่แท็กซี่ผู้ที่มาเป็นสารถีให้ผมออกอาการหงุดหงิดเป็นการใหญ่ กระฟัดกระเฟียด ฟาดงวงฟาดงา รถออกไปได้สักพักแกก็พูดขึ้นมาว่า “วันนี้ซวยมาก ชวดฝรั่ง ถ้าได้เหมาไปพัทยาคืนนั้นเค้าก็คงจะสบายไปเลย ต่อคิวมาตั้งหลายชั่วโมงมาเจอพี่เนี่ย ผมเซ็งมาก” แหม่ พูดราวกับว่าผมไปขอขึ้นฟรี เนี่ยค่าเซอร์ชาร์จก็จ่ายเพิ่มให้ตามระเบียบ ในวันนั้นผมก็ต้องอดทนทำใจ ไม่ต่อปากต่อคำ จะไปต่อปากต่อคำ พูดจาตอบโต้อะไรก็ห่วงสวัสดิภาพชีวิตตัวเราเอง ทำได้แค่ภาวนาให้เค้าส่งเราถึงบ้านโดยปลอดภัย ผมเชื่อว่าผมคงไม่ใช่คนเดียวที่เจอปัญหาเช่นนี้ ปัญหาที่แต่ละคนเจออาจจะหนักเบาแตกต่างกันไป แต่ผมต้องขอออกตัวก่อนว่าแท็กซี่สุวรรณภูมิที่ดีก็มีไม่ใช่น้อยผมเองก็เคยเจอมากับตัวเอง ทั้งลงมาช่วยยกของขึ้นยกของลง บริการเต็มที่ พูดจาดี แต่พี่แท็กซี่เหล่านั้นกลับโดนกลุ่มแท็กซี่ส่วนน้อยเหล่านั้นลบภาพดีๆ ทำลายชื่อเสียงและความศิวิไลซ์ของเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปเสียจนหมดสิ้น แล้วยิ่งมาเห็นคลิปที่โพสในในโซเชียลเน็ตเวิกโดยชาวญี่ปุ่นแล้วก็คงจะยืนยืนถึงปัญหาคุณภาพการให้บริการและระดับความน่าเชื่อถือของระบบแท็กซี่สนามบินสุวรรณภูมิที่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติไปแล้ว

ตัวแบบแถวคอยช่วยจัดการปัญหารถแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิได้หรือไม่?

ปัญหารถแท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิขาเข้า เช่น แถวคอยยาว เวลารอคอยนาน คนขับรถปฏิเสธผู้โดยสารโดยเฉพาะผู้โดยสารคนไทยและ/หรือมีปลายทางที่คนขับไม่อยากไป (เช่นปลายทางใกล้เกิน หรือต้องรีบไปส่งรถ แก๊สหมด เป็นต้น) เลือกรับเฉพาะชาวต่างชาติ คนขับรถไม่ยอมกดมิเตอร์ คิดเหมาจ่ายในราคาที่สูงมาก อย่างที่พบเห็นได้ใน web board ต่าง ๆ หรือในบทความ “Taxi ของพี่ไทย จะต้อนรับหรือขับไล่นักท่องเที่ยวต่างชาติ” เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2558 ในคอลัมน์เดียวกันนี้ เราสามารถนำเอาทฤษฎีหรือตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่? ทฤษฎีหนึ่งที่ได้กล่าวถึงในบทความข้างต้น คือ ทฤษฎีแถวคอย (queueing theory) บทความนี้จะแนะนำพร้อมทั้งยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ตัวแบบแถวคอย เพื่อนำไปสู่การตอบปัญหาว่าตัวแบบแถวคอยจะช่วยแก้ปัญหานี้หรือไม่?

สายการบินขายตั๋วราคาถูกแต่ยังสามารถทำกำไรได้ : หนึ่งเบื้องหลังจากการจัดการรายได้หรือ Yield Management

หลังปีใหม่นี้เจอกระแสอีกรอบให้สายการบิน Low Cost (LC) “ขึ้นราคา” บ้างว่าตั๋วลดราคา (discount tickets) ของสายการบินจะไปแย่งลูกค้ารถทัวร์เพราะราคาตั๋วเครื่องบิน LC เท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาตั๋วรถทัวร์มาก บ้างว่าสายการบินตั้งราคาต่ำเกินไป จึงเป็นกังวลแทนว่าสายการบินจะไม่ได้กำไร ประเด็นแรกเรื่องการเอาตั๋วลดราคาของสายการบินที่อาจมีเพียงไม่กี่ที่นั่งบนเครื่อง แถมต้องรอซื้อเฉพาะบางวันเวลาที่โอกาสเหมาะ ไปเปรียบเทียบตั๋วราคาเดียวทุกที่นั่งของรถทัวร์ เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสม สามารถอ่านได้ที่บทความ “Traditional Pricing ของตั๋วโดยสารรถทัวร์ versus Dynamic Pricing ของตั๋วโดยสารเครื่องบิน Low Cost หนึ่งกลยุทธ์เชิงราคาของการจัดการรายได้/Pricing & Revenue Optimization”  สำหรับในบทความนี้เราจะกล่าวถึงประเด็นที่สองเรื่องความสามารถในการทำกำไรทั้งๆ ที่มีการขายตั๋วลดราคาของสายการบิน ส่วนหนึ่งเพราะมีการจำกัดจำนวนตั๋วลดราคาเอาไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ว่าขายตั๋วในราคาต่ำทั้งหมดทุกที่นั่ง สายการบินมีการเผื่อตั๋วจำนวนหนึ่งไว้ขายที่ราคาเต็มด้วย นี่เป็นอีกตัวอย่างของการจัดการรายได้ (Revenue Management/Pricing & Revenue Optimization) หรือที่ธุรกิจการบินมักเรียกว่า Yield Management ซึ่งมีจุดหมายเพื่อให้ได้กำไรรวมสูงสุดจากที่นั่งบนเครื่องที่มีจำกัด

Traditional Pricing ของตั๋วโดยสารรถทัวร์ versus Dynamic Pricing ของตั๋วโดยสารเครื่องบิน Low Cost หนึ่งกลยุทธ์เชิงราคาของการจัดการรายได้ / Pricing & Revenue Optimization

รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) http://as.nida.ac.th/th/ เมื่อช่วงที่ผ่านมา มีกระแสการเปรียบเทียบราคาตั๋วโดยสาร promotion ของสายการบิน Low Cost (LC) กับราคาตั๋วโดยสารของบริษัทขนส่ง จำกัด (บขส.) ว่ามีราคาใกล้เคียงกัน และวิจารณ์การตั้งราคาพร้อมทั้งลงความเห็นว่าอาจเป็นสาเหตุให้บริษัทเดินรถเดือดร้อน ก่อนที่เราจะไปตัดสินว่าสายการบิน LC ตั้งราคาต่ำเกินจริงหรือไม่ หรือมีผลดีผลเสียกับผู้บริโภคหรือกระทบบริษัทอย่างไร รัฐควรเข้าแทรกแซงไหม ในบทความนี้เราหวังจะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของกลยุทธ์การตั้งราคา traditional pricing ของตั๋วรถทัวร์กับ dynamic pricing ของตั๋วเครื่องบิน LC ตั๋วรถทัวร์ของบางบริษัท ขายล่วงหน้าก่อนการเดินทางภายใน 60 วัน และปิดขายก่อนรถออก 7 ชั่วโมง ไม่ว่าเราจะซื้อตั๋วเดินทางจากหมอชิตไปสถานีขนส่งพิษณุโลกเดินทางวันพฤหัสที่ 7 สิงหาคม 2557 ก่อนล่วงหน้า 55 วัน หรือ 5 วัน ก็จะได้ตั๋วรถทัวร์ราคาเดียวกัน นี่เป็นตัวอย่างกลยุทธ์ของ traditional “fixed” […]

1 2 3