การตัดสินใจในปัญหาที่ซับซ้อน “ดีขึ้น” ได้ด้วยการวิจัยดำเนินงาน (Operations Research: OR) 

  ในธุรกิจโลกปัจจุบันที่การแข่งขันทวีความรุนแรง ความต้องการของลูกค้ามีหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปัญหาที่ซับซ้อน การตัดสินใจที่เฉียบคมรอบคอบเหมาะสมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้   การวิจัยดำเนินงานเป็นสาขาวิชาการที่ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิเคราะห์ขั้นสูงมาใช้ช่วยในการตัดสินใจ  เมื่อนำหลักการวิจัยดำเนินงานไปใช้ เช่น เริ่มต้นจากวิเคราะห์ข้อมูล นำไปสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์พร้อมทั้งหาคำตอบโดยอาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย จะทำให้สามารถวิเคราะห์ผลตอบแทนของแต่ละทางเลือก  และนำไปช่วยตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ความเสี่ยงลดลง สามารถพัฒนาระบบการดำเนินงานให้ดีขึ้น และนำไปสู่การประเมินหาทางเลือกที่ดีที่สุด   จากชื่อ การวิจัยดำเนินงาน หรือ Operations Research ก็คือ “research on operations”  วิจัย (research) ว่าทำอย่างไรถึงจะดำเนินงาน (operations) ให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพที่สุด  เป็นการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้การตัดสินใจที่ดีขึ้น  หรือโดยย่ออย่างที่เคยมีการทำแคมเปญ OR: The Science of Better

ราคาตั๋วเครื่องบิน Low Cost ต่ำกว่าต้นทุนจริงหรือไม่ อย่างไร?

จากข่าวช่วงปลายปีที่ผ่านมาที่ สายการบินบางกลุ่มเสนอให้รัฐกำหนดราคาเพดานขั้นต่ำของสายการ Low-Cost (LC) เพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งต่ำกว่าต้นทุนจนอาจกลายเป็นสงครามการแข่งขันด้านราคา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะกระทบต่อธุรกิจสายการบินในไทยโดยรวม ดังเช่นที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มสายการบินตกเมื่อนักลงทุนหวาดหวั่นต่อสงครามราคา ภายหลังจากที่หลายสายการบินได้ลดราคาลงตามราคาน้ำมันและเพื่อเพิ่มจำนวนนักเดินทาง เราจะทราบได้อย่างไรว่าสงครามราคาเกิดขึ้นหรือยัง? การที่สายการบิน LC มีราคาตั๋ว promotion ซึ่งต่ำกว่าราคาต้นทุน แสดงว่ามีสงครามราคาเกิดขึ้นอย่างนั้นหรือ? เพดานราคาขั้นต่ำจำเป็นจริงหรือไม่? และถึงเวลาแล้วหรือที่รัฐควรเข้ามาแทรกแซงธุรกิจสายการบิน?

“รถทัวร์ต้นทุนต่ำ” จริงหรือฝันไป? : Megabus ปฏิวัติรูปแบบธุรกิจรถทัวร์ระหว่างเมืองให­ญ่ (Nation TV)

NIDA WISDOM for Change ตอน “รถทัวร์ต้นทุนต่ำ” จริงหรือฝันไป? : Megabus ปฏิวัติรูปแบบธุรกิจรถทัวร์ระหว่างเมืองให­ญ่ โดย รศ.ดร.กาญจ์นภา อมรัชกุล ออกอากาศ 30 ธันวาคม 2558 เวลา 16.00 – 16.30 น. ทาง NATION TV ทีวีดิจิตอลช่อง 22

“รถทัวร์ต้นทุนต่ำ” จริงหรือฝันไป?: Megabus ปฏิวัติรูปแบบธุรกิจรถทัวร์ระหว่างเมืองใหญ่

จากข่าวช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ว่า “เจ๊เกียว” มีแนวคิดทำ “รถทัวร์ต้นทุนต่ำ” โดยจะปรับลดตั๋วไม่เกิน 20% ไม่กี่ที่นั่ง บางข่าวว่าที่นั่งลดราคานี้มีเพียง 4-5 ที่นั่งไม่แน่ใจว่าตำแหน่งอยู่ตรงไหนของรถ ตั๋วลดราคานี้สำหรับบางเส้นทาง สำหรับคนจองล่วงหน้า ที่เดินทางในช่วงไม่ใช่เทศกาลหยุดยาว เพื่อให้มาแข่งกับสายการบิน Low Cost (LC) ได้ จริงหรือฝันไป? บทความนี้ขอยกตัวอย่างบริษัทรถทัวร์ Megabus (megabus.com) ที่ประสบความสำเร็จ ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองเป็นหนึ่งในรูปแบบการเดินทางที่เติบโตสูงสุดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา การเดินทางรถทัวร์ถูกเปลี่ยนโฉมด้วย Megabus นับเป็นการปฏิวัติ re-image การเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ในสหรัฐเลยทีเดียว รถทัวร์ Megabus ได้ทำอะไรไปบ้างและทำอย่างไร แล้วรถทัวร์ของเจ๊พร้อมหรือยัง?

ลูกค้าร้านกาแฟนั่งแช่ไม่สั่งเพิ่ม ร้านกาแฟเสียรายได้มากน้อยเท่าใด?

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมีข่าวร้านกาแฟดังแจกบิลค่านั่งคุยธุรกิจชั่วโมงละพันบาท แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ไม่ได้มีการเก็บจริง แต่…ร้านกาแฟที่เก็บเงินตามนาทีที่ลูกค้านั่งเพิ่งเปิดตัวไปในอังกฤษเมื่อปีนี้ ร้าน Ziferblat มีแนวคิดมาจากลูกโซ่ (chain) ร้านกาแฟจ่ายตามนาที (pay-per-minute café) ใน Russia ที่ว่า ทุกอย่างฟรียกเว้นเวลา ร้านนี้ในอังกฤษจะคิดนาทีละ 0.05 ปอนด์ (GBP) หรือตกชั่วโมงละ 165 บาท เมื่อลูกค้าเดินเข้าประตูมาก็จะได้รับนาฬิกา เพื่อเอาไว้ใช้บอกว่าอยู่ในร้านไปนานเท่าใด เนื่องจากอาหารเครื่องดื่มและ wifi ในร้านรวมอยู่ในอัตรานี้แล้วจึงเสมือนว่าร้านเก็บค่าที่ (space) มากกว่าค่าอาหารเครื่องดื่ม จึงทำให้ Ziferblat เหมือนจะเป็น co-working space มากกว่าร้านกาแฟ บทความนี้จะไม่กล่าวถึงเรื่องการคิดราคา co-working space แต่จะพิจารณาร้านกาแฟที่มีลูกค้าเข้ามานั่งแช่แต่ไม่สั่งเพิ่ม จนอาจทำให้ที่นั่งเต็ม คนอื่นไม่สามารถเข้ามานั่งในร้านได้ ผู้เขียนจะเสนอมุมเบาๆ ว่ารายได้ที่หายไปจากกรณีนี้จะประมาณได้อย่างไร

10 ทักษะจำเป็นสำหรับนักการจัดการโลจิสติกส์

ในยุคโลกาภิวัตน์ที่องค์กรธุรกิจเผชิญการแข่งขันอย่างรุนแรง องค์กรได้ดึงเอาการจัดการโลจิสติกส์มาเป็นกลยุทธ์สำคัญ เนื่องด้วยการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีสามารถเพิ่มคุณค่าในการให้บริการลูกค้า นอกจากนี้กิจกรรมโลจิสติกส์ยังมีต้นทุนสูง ธุรกิจในประเทศไทยโดยรวมมีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์คิดเป็น 14.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือประมาณ 1,835.2 พันล้านบาท

OVERBOOK – ขายตั๋วเกินที่นั่ง กรณีสายการบิน (วันนี้ที่นิด้า)

รายการวันนี้ที่นิด้า ตอน OVER BOOK – ขายตั๋วเกินที่นั่ง กรณีสายการบิน โดย รศ.ดร.กาญจ์นภา  อมรัชกุล  (อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ นิด้า) ออกอากาศ 28 มิถุนายน 2558 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 – 9.25 น. ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม Thai TV Global Network (TGN) อำนวยการผลิตโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ NIDA  http://tv.nida.ac.th/nidatv/videodetail.aspx?vid=568 หรือ https://www.youtube.com/watch?v=Qk0seTXPBTs

ตั๋วเครื่องบินในมือคุณ ยืนยันการเดินทางได้จริงหรือ? ถ้าสายการบินเปิดการจองเกิน

คุณรู้หรือไม่ว่าสายการบินหลักที่ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศซึ่งได้แก่ การบินไทย ไทยสมายล์ กานต์แอร์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ บางกอกแอร์เวย์ โอเรียนท์ไทยแอร์ไลน์และไทยไลอ้อนแอร์ นั้น อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสายการบินที่กล่าวมาใช้นโยบายการจองเกิน หรือ Overbooking ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับสายการบิน นโยบายการจองเกินนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันมานานแล้วในการจัดการรายได้ (Revenue Management) หรืออาจเรียกว่า Yield Management มันจึงไม่ใช่นโยบายใหม่แต่อย่างใด จากชื่อนโยบาย “การจองเกิน” เราคงจะพอเดาได้ว่ามันคือการขายตั๋วโดยสาร “มากกว่า” จำนวนที่นั่งจริงบนเครื่องบินนั่นเอง ซึ่งผู้โดยสารอย่างเราๆ คงไม่ทราบว่าสายการบินที่เราใช้บริการอยู่นั้นใช้นโยบายการจองเกินหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วสายการบินได้มีการแจ้งรายละเอียดไว้แล้วในข้อตกลงและเงื่อนไขการบินของสายการบินนั้นๆ

วางแผนโรดทริป (Road Trip) เที่ยวทั่วไทย ยังไงดี?

หลายท่านที่มีโอกาสกลับบ้านในช่วงสงกรานต์คงมีความสุข ได้รดน้ำดำหัวพ่อแม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ แม้ว่าการเดินทางไปกลับอาจจะเหนื่อย ต้องเจอทั้งผู้คน รถราที่ติดขัด แต่การที่กลับไปเจอหน้าคนที่เรารักสักครั้งในรอบปีจะเหนื่อยยังไงก็มีความสุขนะครับ การเดินทางส่วนใหญ่ของผู้คนในช่วงสงกรานต์เป็นการเดินทางระหว่างจุดสองจุดเช่น จากกรุงเทพมหานครไปยังต่างจังหวัดแล้วเดินทางกลับ การวางแผนการเดินทาง (Route Planning) ดังกล่าวก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเพียงแค่เลือกเส้นทางในการเดินทางที่อาจจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด (Shortest Path), เส้นทางที่เร็วที่สุด (Fastest Path), หรือ เลือกเส้นทางเลี่ยงที่ไม่ใช่ทางหลวงสายหลักเพื่อเลี่ยงปัญหาจราจรหรือแวะเที่ยวไปด้วย อันนี้ก็สุดแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน บางคนอาจจะถือโอกาสในช่วงหยุดยาวเดินทางขับรถเที่ยวแบบโรดทริป (Road Trip) ค่ำไหนนอนนั่น ไม่รีบที่จะเดินทางไปให้ถึงจุดหมาย ท่องเที่ยวใช้ชีวิตแบบช้าๆ ค่อย ๆ ซึมซับบรรยากาศ ผู้คน ท้องถิ่น วัฒนธรรม ธรรมชาติ มีความสุขกับการเดินทางเหมือนที่ฝรั่งบอกว่า ห้วงเวลาระหว่างการเดินทางนั้นมีความหมายมากกว่าจุดหมายปลายทาง (Travel is the journey not the destination)

ตัวแบบเชิงปริมาณในการจัดการโลจิสติกส์: การปรับปรุงนโยบายการจองพื้นที่ระวางสินค้าทางอากาศของ Integrator แห่งหนึ่ง

ตัวแบบเชิงปริมาณสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านการจัดการโลจิสติกส์ ทำให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไรมากขึ้น สำหรับสัปดาห์นี้ขอนำเสนอตัวอย่างในการใช้ตัวแบบเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงนโยบายการจองพื้นที่ระวางสินค้าทางอากาศของ Integrator แห่งหนึ่ง ซึ่งตัวอย่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทยที่จะช่วยให้โลจิสติกส์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้นและสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันให้กับประเทศไทยในอนาคตต่อไปได้

1 2 3