Sales Forecasting: Time Series Analysis in a Nutshell
Kannapha Amaruchkul The 4th Business Analytics and Data Science (BADS) Conference 14:00-15:00 Friday 1 November 2019 Slide: 2010-09-BADS-sales-forecasting-R2
Kannapha Amaruchkul The 4th Business Analytics and Data Science (BADS) Conference 14:00-15:00 Friday 1 November 2019 Slide: 2010-09-BADS-sales-forecasting-R2
Asst. Prof. Sarawut Jansuwan, PhD. The 4th Business Analytics and Data Science (BADS) Conference 13:00-14:00 Friday 1 November 2019 Slide: Supply-Chain-UptoDown-PPT
สัมภาษณ์ นสพ Transport Journal: NIDA เสริมแกร่งผนึก Hull University ขยายฐานต่างชาติ ยกระดับหลักสูตร Logistics
Urban Analytic in Data Driven Era: Solve Bangkok Congestion with Data Dr. Sarawut Jansuwan 30 October 2018 The 3rd Business Analytics and Data Science Conference Slide 2018-BADS-Urban Analytics
Dynamic Pricing & Revenue Management in Service Industries Kannapha Amaruchkul 30 October 2018 The 3rd Business Analytics and Data Science Conference Slide dpricing-R2
รายการสภาท่าพระอาทิตย์ “พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง” ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า ออกอากาศ ASTV 11/11/2016 เอกสารประกอบการบรรยายโดย Rapeepat Chaiprasittikul
กระผมได้มีโอกาสขับรถโดยใช้สะพานจตุรทิศอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดสามารถเชื่อมโยงกับถนนสายสำคัญได้หลายสายเช่น ถนนศรีอยุธยา ถนนอโศก-ดินแดง ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม9 และทางด่วนขั้นที่สอง ผู้สัญจรที่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯก็นิยมใช้เส้นทางนี้เพราะนอกจากจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางเข้าเมืองได้แล้ว ยังไม่ต้องเสียค่าผ่านทางอีก กระผมเองยังเคยคิดว่าใครกันหนอเป็นผู้ริเริ่มโครงการลักษณะแบบนี้ ช่างชาญฉลาดเสียเหลือเกิน ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะว่าโครงการลักษณะนี้เป็นโครงการที่มีการลงทุนไม่สูงมากแต่กลับช่วยเชื่อมโยงการเดินทาง ลดปัญหาจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี อยากจะให้มีโครงการลักษณะแบบนี้หลายๆ แห่งทั่วกรุงเทพฯ เก็บความสงสัยได้ไม่นานก็กลับกระผมได้กลับมาค้นคว้าดูว่าโครงการนี้มีที่มาอย่างไรซึ่งก็พบว่าสะพานจตุรทิศแท้จริงแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายจตุรทิศ โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพุทธศักราช ๒๕๓๘ เพราะทรงตระหนักว่าปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนับวันก็ยิ่งเลวร้ายลงและการแก้ปัญหาจราจรมักจะไม่ได้พิจารณามองเป็นทั้งโครงข่าย แต่กลับ แก้ปัญหาแบบเป็นจุดๆ เพื่อคลี่คลายเฉพาะหน้า ดังนั้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนั้นจำเป็นต้องวางแผนให้เป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงถนน สะพาน และ โครงการขนาดย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้การไหลเวียนของการจราจรนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเดินทางข้ามเมืองก็จะเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเข้าไปแออัดกันในเมือง และนี่คือที่มาของโครงข่ายจตุรทิศที่เชื่อมต่อเส้นทางจราจรในแนวทิศทางตะวันออก-ตะวันตกอันเกิดจากพระราชดำริจนสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาจราจรของกรุงเทพฯได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปที่ ๑ โครงข่ายจตุรทิศ (ที่มา: สำนักงาน กปร.) ด้วยพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ นั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงมีพระราชดำริพัฒนาโครงการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากมายตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าการจราจรระหว่างกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกและตะวันออกนั้นจะมีปัญหาติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพการจราจรที่ติดขัดต่อเนื่องตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนพระบรมราชชนนี จึงมีพระราชดำรัส ในเดือน มิถุนายน ๒๕๓๘ ความตอนหนึ่งว่า “…หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้จะมีประโยชน์มาก…” กรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงซึ่งเป็นสองหน่วยงานหลักได้น้อมนำพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติโดยร่วมกันก่อสร้างทางโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี มีจุดเริ่มต้นจากแยกอรุณอัมรินทร์ไปจนถึงพุทธมณฑลสาย ๒ […]
ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สถานการณ์ปัญหาการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การรายงานความติดขัดของมหานครทั่วโลก ของ บริษัท ทอมทอม (TomTom) ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบนำทางจีพีเอส (GPS) พบว่ากรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีความติดขัดสูงเป็นอันดับสองรองมาจากเมืองเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก รายงานยังสรุปว่า สถานการณ์จราจรในกรุงเทพมหานครค่อนข้างสุดโต่งและอาจเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากชนชั้นกลางของประเทศเติบโตขึ้นและมีกำลังทรัพย์ที่จะซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลเพราะเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงสถานะทางสังคม (ที่มา: หนังสือพิมพ์ออนไลน์ posttoday.com) ปริมาณรถยนต์สะสมในกรุงเทพมหานครในปี 2558 มีถึง 9 ล้านคัน มีรถยนต์ใหม่เพิ่มขึ้นทุกวันวันละกว่า 1,000 คัน รถจักรยานยนต์ก็เพิ่มใกล้เคียงกันคือวันละ 1,100 คันขณะที่ปริมาณถนนที่มีอยู่เพิ่มขึ้นไม่เพียงพอต่อปริมาณอุปสงค์ของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ข้อมูลด้านการจราจรในปี 2558 ระบุว่ารถยนต์ส่วนบุคคลสามารถทำความเร็วเฉลี่ยได้เพียง 15 กม./ชั่วโมงในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้า และ 22 กม./ชั่วโมงในช่วงเร่งด่วนเย็น กรณีที่เกิดปัญหาบนท้องถนนเช่น อุบัติเหตุ น้ำท่วม ความเร็วในการเดินทางก็จะต่ำกว่า 10 กม./ชั่วโมง หากเราลองคำนวณรัศมีการเดินทางจากเขตชานเมืองรอบกรุงเทพมหานครเพื่อเข้ามาทำงานที่ศูนย์กลางเมืองอย่างสีลม หรือ สาทร นั้นพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางได้ภายใน 1 ชั่วโมงแสดงในรูปที่ 1 จะเห็นได้ว่ารัศมีครอบคลุมทางทิศเหนือ ถึงช่วงปากเกร็ด นนทบุรี […]
ปัจจุบันการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นที่นิยมมากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากมีสายการบินต้นทุนต่ำมากมายให้เราเลือกใช้บริการ ทั้งการเดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ ปัญหาที่ผู้โดยสารพบเจอจากการเดินทางด้วยเครื่องบินนั้น มีทั้งเที่ยวบินล่าช้า เที่ยวบินถูกยกเลิก รวมถึงการ Check-in แล้วไม่ได้เดินทาง (Denied boarding) สำหรับปัญหาการ Check-in แล้วไม่ได้เดินทางนั้นมีที่มาจาก 2 สาเหตุด้วยกัน สาเหตุแรกคือ ถูกปฏิเสธการเดินทางจากเหตุผลอันสมควร เช่น สุขภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย เอกสารการเดินทางไม่สมบูรณ์ สาเหตุที่สองเกิดจากการที่สายการบินให้จองตั๋วมากกว่าจำนวนที่นั่งที่มีอยู่หรือที่เรียกว่านโยบายการจองเกิน (Overbooking) นโยบายการจองเกินถือเป็นนโยบายสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกสำหรับธุรกิจที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด เช่น สายการบิน โรงแรม สำหรับสายการบินนั้น มีการใช้นโยบายการจองเกินกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานานแล้ว บทความนี้จะอธิบายถึงที่มาที่ไปที่ทำให้สายการบินเลือกใช้นโยบายการจองเกินในการเพิ่มรายได้ให้สายการบิน ข้อดีและข้อเสียสำหรับผู้โดยสารจากการเลือกใช้นโยบายการจองเกินของสายการบิน สายการบินเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีการลงทุนสูงมาก โดยต้นทุนแรกของสายการบินที่เราเห็นได้ชัดเจนคือค่าเครื่องบิน ซึ่งแต่ละสายการบินก็จะเลือกใช้เครื่องบินแตกต่างกันไป โดยส่วนใหญ่แล้วสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศเรานั้นจะใช้เครื่องบินจาก 2 บริษัทคือ Airbus และ Boeing มีราคาเครื่องต่อลำโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 35 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ดังนี้ เครื่องบิน ราคาเฉลี่ย (ล้านบาท) Airbus A-319 […]
แอดมินได้รับมอบหมายให้ไปเป็นวิทยากรเรื่องผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อการละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือสู่การเปลี่ยนแปลงระบบโลจิสติกส์โลก โจทย์นี้เป็นโจทย์ไกลตัวพอควรแต่จะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เพราะการเดินทางของสินค้าทางเรือเดินสมุทรนั้นเดิมจะใช้เส้นทางหลักๆ ไม่กี่เส้นและจะต้องผ่านช่องแคบ หรือ คลองที่ขุดขึ้นมาเป็นประตูทางผ่านไปยังทวีปปลายทาง เช่น ช่องแคบมะละกา เพื่อเข้าออก เอเชียตะวันออก คลองสุเอซ ไปยังทวีปยุโรป คลองปานามา ผ่านไปยังทวีปอเมริกาด้านตะวันตก (ตามรูปที่ 3) แต่บริเวณดังกล่าวก็เป็นจุดคอขวดที่มีความติดขัดสูง เรือเดินสมุทรจากจีนต้องเดินทางไปยังท่าเรือ Rotterdam ในยุโรป ใช้เวลากว่า 45 วันในการเดินทางผ่านจุดคอขวดหลายแห่ง