Supercluster Workshop: City Logistics-Planning Approach

การพัฒนาเมืองโลจิสติกส์: แนวทางการวางแผน City Logistics: Planning Approach ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า การฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ โครงการการพัฒนา logistics network ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Super Cluster ให้กับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และข้าราชการในกระทรวงคมนาคม. วันพุธที่ 6 กันยายน 2560 13:00-16:30 ณ ห้องอยุทธยา ชั้น 8 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ Link to presentation slide Session 1 – CLM

Supercluster Workshop

ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ นำทีมฝึกอบรมการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ ภายใต้งานศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ รูปแบบอุตสาหกรรมอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ  วันพุธที่ 6 กันยายน 2560 13:00-16:30 ณ ห้องอยุทธยา ชั้น 8 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ การพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์/ดร. สราวุธ จันทร์สุวรรณ กรณีศึกษา ระบบเครือข่ายโลจิสติกส์ Super Cluster ในต่างประเทศ/ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (LPI)/ดร. ศิวิกา ดุษฎีโหนด

การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร

Mock-Up AUN-QA หลักสูตร วท.ม. การจัดการโลจิสติกส์ นิด้า 29-31 สิงหาคม 2560 คณะกรรมการ ศ.ดร.ปารเมศ ชุติมา  (ประธาน) รศ.ดร.เสาวณิต สุขภารังสี ผู้ใช้บัณฑิต คุณไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซอฟต์สแควร์ 1999 จำกัด อาจารย์วราภรณ์ สารอินมูล  หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศิษย์เก่า คุณณัฐ พงศ์ไทย คุณณัฐฑินันท์ ขันเล็ก คุณปริย เศรษฐบุตร คุณพสธร อุปพันธ์ คุณปารียา ศิริวัฒนพันธ์ คุณรพีพัฒน์ ชัยประสิทธิกุล ศิษย์ปัจจุบัน คุณนิภาธร โภควรรณากร คุณยุทธพงษ์ ห้องแซง คุณอรนลิน สืบทิมรัตน์ คุณพงศ์ทิพย์ หลิ่ววรกูล คุณกิตติศักดิ์ แจ่มสว่าง คุณอภิวัฒน์ สายจำปา คุณนิชานันท์ สุขสำราญ คุณชินานันท์ […]

Hong Kong 2017

การสัมมนานานาชาติทางการจัดการโลจิสติกส์ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน May 21-24, 2017 The Logistics Research Centre (LRC) แห่ง Hong Kong Polytechnic University International Seminar in Logistics Management (1 credit)  ของหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ รุ่น LM9, LM10 ความเป็นมา จากการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลักสูตรการศึกษาต่างๆมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมให้ผู้ศึกษามีความสามารถในการเข้าสู่ตลาด แรงงานในระดับภูมิภาค  ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในภาคการศึกษา 2/2559  หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ จึงจะได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชา จล.8001-สัมมนานานาชาติทางการจัดการโลจิสติกส์-กลุ่ม B1 ที่เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยร่วมกับ Hong Kong Polytechnic University ซึ่งผู้ที่เข้าเรียนจะได้รับใบรับรอง (Certificate) จากหน่วยงานที่ร่วมจัดการสอน ด้วย อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ อ.ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ และอ.ดร.ศิวิกา ดุษฎีโหนด ภาพกิจกรรม […]

Revenue Management Course Project 2017

Course project วิชา Revenue Management เทอม 2559-2 นำเสนอแนวคิดการประยุกต์ใช้ RM ในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าจะได้นำ RM ไปใช้แต่ยังไม่ได้ใช้ สำหรับธุรกิจที่นำ RM ไปใช้อยู่แล้ว ระบุและอภิปรายปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ RM ในบริษัท การประยุกต์ใช้ RM กับ Ski Slopes   และ Pocket WiFi   นำเสนอกรณีศึกษาบริษัท Startup ขาย ski lift และที่พัก online เพิ่มรายได้ และมีลูกค้ามาใช้บริการกว่า 5 ล้านคนต่อฤดูกาล เสนอแนวคิดการนำ price differentiation กับธุรกิจเช่า Pocket WiFi Link to project presentation file  Presentation RM-weekday  […]

OR-NET2017

ผลงานนักศึกษาป.โท โลจิสติกส์ นิด้า ที่ได้เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการแห่งชาติ ด้านการวิจัยดำเนินงาน ประจำปี 2560 (National Operations Research Network Conference (OR-NET) 2017) การประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตรด้วยตัวแบบสโตแคสติก กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย/ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ และ สราวุธ จันทร์สุวรรณ (slide OR-NET Presentation_OR039 )  ได้รับรางวัลบทความดีเด่น การจัดเส้นทางเดินรถด้วยขั้นตอนวิธี Hybrid Saving-Sweep Algorithm กรณีศึกษาของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง/ลักษณ์พิเชษฐ คชวัตร และ สราวุธ จันทร์สุวรรณ การกำหนดสัดส่วนการจองและการจองเกิน กรณีศึกษาโรงแรมแห่งหนึ่ง/ณัฐ พงศ์ไทย และ กาญจ์นภา อมรัชกุล (slide OR_Hotel presentation_Nut_Phongthai  Full paper Nut-Proceedings OR-NET 2017 )

รับสมัคร ป.โท วท.ม. การจัดการโลจิสติกส์ รุ่นที่ 13

  ด่วน เปิดรับสมัคร นศ.ภาคพิเศษ รุ่น LM13  ตั้งแต่วันนี้-17 มีนาคม 2560 (เริ่มเรียน พค. 2560) สมัครออนไลน์ Download ใบสมัคร:  https://entrance.nida.ac.th/registrar/apphome.asp รายละเอียดหลักสูตร http://logistics.nida.ac.th/lm-curriculum/ ค่าใช้จ่าย http://logistics.nida.ac.th/tuitionfee/ คุณสมบัติ http://logistics.nida.ac.th/admission/  

โครงการพระราชดำริ ร. 9 และตัวแบบการจัดสรรทรัพยากร

Course project ของวิชา Decision Models: ตัวแบบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง และ/หรือ โครงการพระราชดำริของในหลวง ร.9 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงกบบ้านดอนขี้เหล็ก วางแผนการเลี้ยงกบที่ขายสามชนิดได้แก่ กบเนื้อ ลูกกบ และลูกอ๊อด เพื่อใได้กำไรรวมสูงสุด โดยจำนวนบ่อที่เลี้ยงต้องใช้พื้นที่ไม่เกินบ่อที่มี และกบที่ได้ต้องเพียงพอกับปริมาณความต้องการ Link to project presentation file project-frog โครงการแก้มลิง อ่างเก็บน้ำบ้านหรา จ.สตูล กำหนดความกว้าง ยาว สูงของอ่างเก็บน้ำ โดยให้เสียพื้นที่เขื่อนน้อยที่สุด (จะได้มีการถางป่าน้อยที่สุด) แต่ยังสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำของคนในพื้นที่ได้ Link to project presentation file project-reservoir จัดทำโดยนักศึกษาหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ภาคปกติ รุ่น 1/2559

พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง

รายการสภาท่าพระอาทิตย์ “พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง” ดร.สราวุธ จันทร์สุวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ นิด้า ออกอากาศ ASTV  11/11/2016  เอกสารประกอบการบรรยายโดย Rapeepat Chaiprasittikul

พระอัจฉริยภาพในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 กระผมได้มีโอกาสขับรถโดยใช้สะพานจตุรทิศอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเป็นเส้นทางลัดสามารถเชื่อมโยงกับถนนสายสำคัญได้หลายสายเช่น ถนนศรีอยุธยา ถนนอโศก-ดินแดง ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม9 และทางด่วนขั้นที่สอง ผู้สัญจรที่อาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯก็นิยมใช้เส้นทางนี้เพราะนอกจากจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางเข้าเมืองได้แล้ว ยังไม่ต้องเสียค่าผ่านทางอีก กระผมเองยังเคยคิดว่าใครกันหนอเป็นผู้ริเริ่มโครงการลักษณะแบบนี้ ช่างชาญฉลาดเสียเหลือเกิน ที่พูดเช่นนี้ก็เพราะว่าโครงการลักษณะนี้เป็นโครงการที่มีการลงทุนไม่สูงมากแต่กลับช่วยเชื่อมโยงการเดินทาง ลดปัญหาจราจรติดขัดได้เป็นอย่างดี อยากจะให้มีโครงการลักษณะแบบนี้หลายๆ แห่งทั่วกรุงเทพฯ เก็บความสงสัยได้ไม่นานก็กลับกระผมได้กลับมาค้นคว้าดูว่าโครงการนี้มีที่มาอย่างไรซึ่งก็พบว่าสะพานจตุรทิศแท้จริงแล้วนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายจตุรทิศ โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพุทธศักราช ๒๕๓๘ เพราะทรงตระหนักว่าปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนับวันก็ยิ่งเลวร้ายลงและการแก้ปัญหาจราจรมักจะไม่ได้พิจารณามองเป็นทั้งโครงข่าย แต่กลับ แก้ปัญหาแบบเป็นจุดๆ เพื่อคลี่คลายเฉพาะหน้า ดังนั้นการแก้ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯนั้นจำเป็นต้องวางแผนให้เป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ที่สามารถเชื่อมโยงถนน สะพาน และ โครงการขนาดย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้การไหลเวียนของการจราจรนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ การเดินทางข้ามเมืองก็จะเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเข้าไปแออัดกันในเมือง และนี่คือที่มาของโครงข่ายจตุรทิศที่เชื่อมต่อเส้นทางจราจรในแนวทิศทางตะวันออก-ตะวันตกอันเกิดจากพระราชดำริจนสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาจราจรของกรุงเทพฯได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปที่ ๑ โครงข่ายจตุรทิศ (ที่มา: สำนักงาน กปร.) ด้วยพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ นั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงมีพระราชดำริพัฒนาโครงการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในกรุงเทพฯและปริมณฑลมากมายตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาญาณรู้การณ์ไกลว่าการจราจรระหว่างกรุงเทพฯฝั่งตะวันตกและตะวันออกนั้นจะมีปัญหาติดขัดเป็นอย่างมาก โดยเมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพการจราจรที่ติดขัดต่อเนื่องตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าต่อเนื่องไปจนถึงถนนพระบรมราชชนนี จึงมีพระราชดำรัส ในเดือน มิถุนายน ๒๕๓๘ ความตอนหนึ่งว่า “…หากสร้างสะพานยกระดับขาออกให้ยาวเลยไปจากขนส่งสายใต้จะมีประโยชน์มาก…” กรุงเทพมหานครและกรมทางหลวงซึ่งเป็นสองหน่วยงานหลักได้น้อมนำพระราชดำริไปสู่การปฏิบัติโดยร่วมกันก่อสร้างทางโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี มีจุดเริ่มต้นจากแยกอรุณอัมรินทร์ไปจนถึงพุทธมณฑลสาย ๒ […]

1 7 8 9 10 11 19