ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อการละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือสู่การเปลี่ยนแปลงระบบโลจิสติกส์โลก

แอดมินได้รับมอบหมายให้ไปเป็นวิทยากรเรื่องผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อการละลายน้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือสู่การเปลี่ยนแปลงระบบโลจิสติกส์โลก โจทย์นี้เป็นโจทย์ไกลตัวพอควรแต่จะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เพราะการเดินทางของสินค้าทางเรือเดินสมุทรนั้นเดิมจะใช้เส้นทางหลักๆ ไม่กี่เส้นและจะต้องผ่านช่องแคบ หรือ คลองที่ขุดขึ้นมาเป็นประตูทางผ่านไปยังทวีปปลายทาง เช่น ช่องแคบมะละกา เพื่อเข้าออก เอเชียตะวันออก คลองสุเอซ ไปยังทวีปยุโรป คลองปานามา ผ่านไปยังทวีปอเมริกาด้านตะวันตก (ตามรูปที่ 3) แต่บริเวณดังกล่าวก็เป็นจุดคอขวดที่มีความติดขัดสูง เรือเดินสมุทรจากจีนต้องเดินทางไปยังท่าเรือ Rotterdam ในยุโรป ใช้เวลากว่า 45 วันในการเดินทางผ่านจุดคอขวดหลายแห่ง

สัมมนา International Logistics 2016

กระแสความแรงของโลจิสติกส์และธุรกิจของจีนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมากขึ้นทุกวัน @Logistics Management at NIDA ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ Qiang Su จาก School of Economic and Management, Tongji University เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน มาบรรยายแนวทางการทำธุรกิจ ระบบโลจิสติกส์ โซ่อุปทาน และ E business (ที่กำลังรุ่งเรืองอย่างมากในประเทศจีน) นศ Logistics Management at NIDA ไม่ได้แค่นั่งฟังบรรยายอย่างเดียว แต่ต้องทำ Case Studies (ของ Havard Business School ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายธุรกิจไปสู่จีน) พร้อมพรีเซ็นท์ Solution    Prof. Su มาบรรยาย ให้ 2 วัน วันละ 6 ชั่วโมง เทรนนิ่ง กันอย่าง เข้มข้นมาก […]

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA (คุณณัฐภูมิ ปิติจารุวิเศษ)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA โดยคุณณัฐภูมิ ปิติจารุวิเศษ ปัจจุบันทำงาน Toyota Motor ตำแหน่ง Senior Specialist

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA (คุณอาจารี ภู่ห้อย)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA โดยคุณอาจารี ภู่ห้อย ปัจจุบันทำงานอยู่ Ford ตำแหน่ง Country Buyer

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA (คุณณัฐวดี ชนประเสริฐ)

แนะนำสาขาการจัดการโลจิสติกส์ NIDA โดย คุณณัฐวดี ชนประเสริฐ ปัจจุบันเป็น Engineer บริษัท Sony Device

Price Optimization & Revenue Management Workshop

จุดมุ่งหมายของการจัดการรายได้ (revenue management) คือ ทำให้รายได้สูงสุด โดยการขายสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม ให้กับลูกค้าที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม และด้วยราคาเหมาะสม (“selling the right product to the right customer at the right time at the right price”)   เพื่อให้ได้รายได้สูงสุด การจัดการรายได้พยายามจัดการอุปสงค์ (demand management) โดยใช้กลยุทธ์เชิงราคาเพื่อขายสินค้าหรือให้บริการที่หลายราคา  หลากหลายธุรกิจบริการได้นำการจัดการรายได้มาใช้จนประสบความสำเร็จ เช่น สายการบินโดยสาร โรงแรม ธุรกิจรถเช่า ธุรกิจรถทัวร์ ในสหรัฐอเมริกาเป็นต้น องค์ความรู้ของการจัดการรายได้ นอกจาก การตลาด การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าแล้วยังต้องมีตัวแบบเชิงปริมาณ เพื่อวิเคราะห์หากลยุทธ์ราคาที่เหมาะสมที่สุด ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น ที่นั่งบนเครื่องบินซึ่งมีจำนวนจำกัด จำนวนห้องในโรงแรม จำนวนที่นั่งบนรถทัวร์ เป็นต้น ในหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เราใช้โปรแกรม Excel เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ตัวแบบและการหาผลเฉลยที่ดีที่สุด (optimal solution) เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ […]

Customer acceptance. Pricing Innovation.

การยอมรับจากลูกค้าจากกลยุทธ์การตั้งราคาและการจัดการรายได้  นวัตกรรมการตั้งราคา บรรยายโดย  อ. ดร. ธัญรัตน์ อมรเพชรกุล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ นิด้า

การวางแผนจัดตู้คอนเทนเนอร์ลงเรือบรรทุกสินค้า กรณีศึกษา บริษัทให้บริการขนส่งทางเรือแห่งหนึ่งในประเทศไทย

บทความนี้กล่าวถึงกรณีศึกษาการวางแผนการจัดส่งสินค้าทางเรือด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ในแต่ละสัปดาห์ ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์เพื่อไปส่งท่าเรือในยุโรป 7 ท่าเรือ เส้นทางเดินเรือมีทั้งหมด 4 เส้นทางแบบเครือข่าย ปัญหาการจัดส่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่วนมากเกิดจากตู้คอนเทนเนอร์บางส่วนไม่สามารถส่งไปยังท่าเรือในยุโรปภายในระยะเวลาที่ลูกค้ากำหนด เนื่องจากเรือแม่ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์ไปยังท่าเรือที่ลูกค้าต้องการนั้นบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จนเต็มจำนวนที่บริษัทสามารถใช้ได้ ดังนั้นบริษัทจึงต้องจัดตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นไปยังเรือแม่ของเส้นทางอื่นที่ยังสามารถบรรทุกได้ และใช้วิธีการลงตู้คอนเทนเนอร์ไว้ที่ท่าเรือหนึ่งเพื่อรอให้เรือแม่ที่จะวิ่งไปยังท่าเรือที่ลูกค้าต้องการมาขึ้นตู้คอนเทนเนอร์เหล่านั้นไปส่ง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น และก่อให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือต่อบริษัทเมื่อเกิดการจัดส่งที่ล่าช้า นอกจากนี้อาจต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกค้าหรืออาจให้ส่วนลดเมื่อลูกค้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป แต่ในระยะยาวอาจส่งผลให้เสียลูกค้ารายนั้นไป ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้สร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะหาจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่จะจัดสรรไปยังเรือแม่ที่ออกจากท่าเรือสิงคโปร์ไปยังท่าเรือที่ยุโรปในทั้ง 4 เส้นทาง เพื่อให้ได้กำไรที่สูงสุดและส่งตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดได้ตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ ในการเดินเรือนั้นสามารถเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ไปยังเรือแม่ลำอื่นที่ท่าเรือหนึ่งได้ โดยที่จำนวนตู้คอนเนอร์ที่บรรทุกไปในเรือทั้ง 4 ลำต้องไม่เกินข้อกำหนดที่บริษัทสามารถใช้ได้ และจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ของลูกค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ต้องถูกจัดส่งให้หมดภายในสัปดาห์นั้น ปนัดดา สาระพิทักษ์ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide: ORNET2016-container-present Full paper: ORNET2016-container

การประเมินความยืดหยุ่นด้านความจุของโครงข่ายการขนส่งสินค้า ระหว่างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง กับท่าเรือแหลมฉบัง

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือการพัฒนาตัวแบบคณิตศาสตร์เพื่อใช้ประเมินความยืดหยุ่นด้านความจุของโครงข่ายการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการประเมินหาขีดความจุสูงสุดที่ระบบโครงข่ายขนส่งสินค้าสามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะทำให้ทราบถึงความจุคงเหลือ ของโครงข่าย การประเมินหาความจุของโครงข่ายใช้ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์จากปัญหา 2 ระดับ (Bi-level Programming) ประกอบด้วย ปัญหาระดับบน (Upper Level) ซึ่งเป็นการคำนวณหาค่าที่มากที่สุดของตัวคูณความจุสำรองภายในโครงข่ายทางหลวง หรือ μ และปัญหาระดับล่าง (Lower Level) ซึ่งจะแสดงพฤติกรรมการเลือกเส้นทางสำหรับการขนส่งสินค้า โดยพิจารณาจากปัญหาการเลือกเส้นทางที่จุดสมดุลของผู้เดินทาง (User Equilibrium) โดยการศึกษานี้ได้เลือกศึกษาโครงข่ายการขนส่งสินค้าระหว่างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบังกับท่าเรือแหลมฉบัง ที่ประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายรถไฟเป็นกรณีศึกษา และทำการเปรียบเทียบสถานการณ์การขนส่งสินค้า 3 สถานการณ์ คือ 1) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกเพียงรูปแบบเดียว 2) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าร่วมกันผ่านรถบรรทุกและรถไฟในช่วงเวลาปัจจุบัน และ 3) สถานการณ์ที่มีการขนส่งสินค้าร่วมกันผ่านรถบรรทุกและรถไฟในอนาคต (หลังเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ) ซึ่งผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์ที่ 1 และ 2 มีความจุของโครงข่ายทางหลวงหลักที่ใช้ขนส่งสินค้าไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการในปัจจุบัน โดยมีค่า μ เท่ากับ 0.39 และ 0.62 ตามลำดับ ในส่วนของสถานการณ์ที่ […]

การพัฒนาตัวแบบความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษามันสำปะหลังในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งของภาครัฐคือการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาพิจารณาเพียงเรื่องของต้นทุน ระยะเวลาที่ใช้ และความน่าเชื่อถือ แต่ตัวชี้วัดที่สำคัญอีกตัวหนึ่งคือ ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน ซึ่งแสดงถึงความสามารถที่ระบบจะสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐยังไม่ได้กล่าวถึงมากนัก บทความนี้จึงได้พัฒนาตัวแบบกำหนดการเชิงเส้นผสมจำนวนเต็ม (Mixed Integer Linear Programming) เพื่อใช้วัดความยืดหยุ่น (Flexibility) โดยนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษามันสำปะหลังซึ่งเป็นพืชยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศแต่ปริมาณผลผลิตน้อยและไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ซึ่งการพัฒนาตัวแบบพิจารณาตั้งแต่ส่วนการเพาะปลูก การแปรรูปและการขนส่ง โดยตัวแบบที่สร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตัวแบบย่อยคือ ตัวแบบที่ 1 เป็นตัวแบบประเมินความสามารถพื้นฐานภายใต้ข้อจำกัดในการผลิต การจัดเก็บ การขนส่งของเกษตรกรและโรงงานแปรรูปเพื่อให้เกิดต้นทุนที่ต่ำที่สุด  ส่วนตัวแบบที่ 2 เป็นตัวแบบประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานโดยอ้างอิงความสามารถพื้นฐานจากตัวแบบที่ 1 และผลจากตัวแบบนี้จะทำให้ทราบถึงความสามารถสูงสุดของเกษตรกร โรงงานแปรรูป และระบบการขนส่งที่สามารถรองรับได้ ซึ่งตัวแบบสามารถเป็นเครื่องมือช่วยกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพของโซ่อุปทานรวมถึงระบุจุดคอขวดของระบบเพื่อให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ สราวุธ จันทร์สุวรรณ การประชุมวิชาการด้านการวิจัยดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2559 (ORNET2016) Slide: ORNET2016-cassava-present Full paper:ORNET2016-cassava

1 12 13 14 15 16 19