การกำหนดปริมาณเงินสดสำรองที่เหมาะสมให้เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ

การกำหนดปริมาณเงินสดสำรองที่เหมาะสมให้เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ: กรณีศึกษา ธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย

อัครณี ภักดีวงษ์ และ กาญจ์นภา อมรัชกุล
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) 118 ถนนเสรีไทย เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน ปี 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2556)
Link to full-paper http://www.tci-thaijo.org/index.php/TJOR/article/view/21428/18565

 

บทคัดย่อ

กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณเงินสดสารองที่เหมาะสมให้กับเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทย การวิเคราะห์ใช้ตัวแบบ Newsvendor โดยกาหนดระดับการให้บริการที่ 98% ตัวแปรสุ่มซึ่งแทนปริมาณเงินเบิกถอนในแต่ละรอบเติมเงิน (3.5 วัน) สร้างมาจาก 2 วิธีดังนี้ 1) พิจารณาปริมาณเบิกถอนรวมต่อรอบเติม 2) พิจารณาปริมาณเบิกถอนต่อหนึ่งรายการถอนร่วมกันกับจานวนรายการถอนต่อรอบเติม จากการวิเคราะห์ข้อมูลรายการกดเงินสดย้อนหลัง 24 เดือน ของเครื่องเบิกถอนเงินสดจานวน 11 เครื่องซึ่งถูกคัดเลือกจากบริเวณที่ต่างกัน และมีรายการเบิกถอนเงินสดอย่างต่อเนื่อง พบว่า นโยบายจากวิธีที่ 2 ทาให้ปริมาณเงินสดสารองต่อรอบการเติมและปริมาณเงินสดคงเหลือเมื่อสิ้นรอบการเติมน้อยกว่านโยบายปัจจุบันและนโยบายจากวิธีที่ 1 โดยสามารถลดปริมาณเงินสดสารองลงและลดปริมาณเงินสดคงเหลือเมื่อสิ้นรอบการเติมได้ 35.66% และ 59.01% ตามลาดับ ซึ่งเป็นปริมาณเงินที่เกินความต้องการของลูกค้า อีกนัยหนึ่งคือสามารถช่วยลดเงินทุนที่จมอยู่กับเครื่องเบิกถอนเงินสดอัตโนมัติและทาให้กระแสเงินสดของธนาคารเกิดสภาพคล่องมากขึ้น

คำสำคัญ: การประยุกต์ใช้ตัวแบบสโทแคสติก, ตัวแบบสินค้าคงคลัง, การจัดการโซ่อุปทาน